จัดพื้นที่กลางให้คุณตาคุณยาย

พื้นที่นั่งเล่น เป็นที่รวมของสมาชิกทุกคนในบ้าน เป็นมุมนั่งเล่นของคุณตาคุณยาย เป็นมุมเอกเขนกของเด็กๆ และเป็นมุมเย็บปักถักร้อยของคุณๆ แม่บ้าน ในบ้านที่มีพื้นที่ไม่มากมาย พื้นที่ส่วนนี้มักรวมกับส่วนรับประทานอาหารไว้ด้วย มาดูไอเดียการจัดพื้นที่กัน 01.มุมเก็บของ คนแต่ละวัยมีความสะดวกในการจัดเก็บของต่างกัน คือ ชั้นล่าง เหมาะกับสมาชิกวัยเด็กใช้เก็บของเล่น เพราะหยิบง่าย เก็บสะดวก ชั้นสูงระดับเอว เหมาะกับคุณตาคุณยาย เพราะไม่ต้องก้ม ไม่ต้องเอื้อม ชั้นสูงกว่าระดับเอว เหมาะกับการเก็บของทั่วไป ซึ่งคุณพ่อคุณแม่อาจใช้เก็บหนังสือและของอื่นๆ ที่ไม่อยากให้ลูกๆ รื้อค้น 02.มุมเด็กเล่น ควรจัดไว้ด้านในสุด เพื่อความเป็นส่วนตัว ควรเตรียมชั้นวางของ กล่องหรือตะกร้าใส่ของไว้ให้พร้อม 03.มุมทำการบ้าน เลือกโต๊ะกลางขนาดใหญ่ ให้เด็กได้ใช้เป็นโต๊ะทำการบ้านหรือทำงานอดิเรก เช่น วาดรูป ปั้นดินน้ำมัน 04.มีพื้นที่สำหรับรถเข็น เผื่อพื้นที่ว่างให้รถเข็นของคุณตาคุณยายได้เข้าถึงทุกพื้นที่ โดยไม่มีสิ่งกีดขวางและควรทำพื้นให้เรียบเสมอกัน 05.โต๊ะอาหารพร้อมหน้า วางโต๊ะอาหารให้มีพื้นที่รอบโต๊ะให้รถเข็นผ่านได้สะดวก และเผื่อพื้นที่ให้คุณตาคุณยายเข็นรถมานั่งรับประทานอาหารพร้อมหน้ากันได้ 06.เคานเตอร์หรือแพนทรี ควรออกแบบแพนทรีให้คุณตาคุณยายที่นั่งรถเข็นใช้ได้สะดวก โดยทำเคานเตอร์สูง 75 เซนติเมตร มีพื้นที่ว่างใต้เคานเตอร์สูงไม่น้อยกว่า 60 เซนติเมตร และลึกอย่างน้อย 40 เซนติเมตรเพื่อให้รถเข็นสอดเข้าได้ Note: * […]

Read More

จัดมุมทำงานในบ้านตามไลฟ์สไตล์

นอกจากการใช้ชีวิตในบ้านตามปกติแล้ว คุณพ่อบ้านแม่บ้านบางคนก็ยังต้องทำงานนอกบ้าน บางครั้งต้องหอบงานมาทำต่อที่บ้าน ในขณะที่หลายคนอาจเป็นฟรีแลนซ์ ใช้บ้านเป็นที่ทำงาน เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว ก็ควรออกแบบมุมทำงานไว้ในบ้านให้เหมาะสม การจัดมุมทำงาน ขึ้นอยู่กับพื้นที่และลักษณะการทำงาน โดยทั่วไปมีวิธีจัดการพื้นที่ 3 แบบคือ I-Shape เป็นมุมทำงานที่ใช้พื้นที่น้อยที่สุด ถ้างานที่ใช้สมาธิควรวางหันเข้าหาผนัง ถ้าชอบมุมมองโล่งๆ หรือใช้นั่งคุยงาน ก็วางด้านข้างชิดผนังหรือวางโต๊ะกลางห้อง L-Shape เป็นมุมทำงานที่มีอุปกรณ์ใช้งานค่อนข้างมาก เช่น คอมพิวเตอร์ พริ้นเตอร์ และสแกนเนอร์ ใช้วิธีวางทำงานกับโต๊ะ/ตู้วางอุปกรณ์ไว้ด้านหนึ่ง U-Shape เหมาะกับคนที่ทำงานอยู่กับบ้านและต้องการพื้นที่ทำงานกว้าง หรือมีคนมาติดต่ออยู่เสมอ โดยจัดวางพื้นที่ทำงานหรือโต๊ะทำงานให้หันหน้าออก เพื่อให้คนที่เข้ามาติดต่อเข้าพบได้สะดวก ด้านหลังและด้านข้างจัดวางอุปกรณ์และเก็บเอกสารต่างๆ มาดูตัวอย่างการจัดมุมทำงานแบบต่างๆ กัน Life Style 1 : ฉันทำงานอิสระ อยากใช้บ้านเป็นกองบัญชาการเล็กๆ คนที่ใช้บ้านเป็นทำงานแบบจริงจัง ควรแยกพื้นที่ทำงานออกจากพื้นที่บ้าน เพื่อให้เกิดสมาธิ ทำงานได้สะดวก และเป็นสัดส่วน สมาชิกในบ้านหรือผู้มาติดต่อจะได้ไม่รบกวนกัน ทำให้ได้ภาพของความเป็นมืออาชีพ น่าเชื่อถือ 01 มุมพักคอย ปรับมุมหน้าบ้านเป็นที่นั่งพักผ่อนและใช้เป็นมุมพักคอยแบบสบายๆ 02 โถงทางเข้า เป็นส่วนที่แยกที่ทำงานและที่พักอาศัยให้เป็นสัดส่วน 03 ห้องอเนกประสงค์ […]

Read More

โลกใบเล็กของเด็กน้อย : วัยกับการตกแต่ง

การวางแผนตกแต่งห้องให้เหมาะกับเด็กในแต่ละช่วงวัยเป็นเรื่องสำคัญ ทั้งนี้เพราะเด็กในแต่ละช่วงอายุจะมีพัฒนาการที่แตกต่างกัน  เรามาเรียนรู้ช่วงอายุและการตกแต่งที่เหมาะสมไปพร้อมๆ กันค่ะ วัยแรกเกิด (0-3 ปี) เป็นวัยที่ต้องดูแลเอาใจใส่แบบไม่คลาดสายตา คุณพ่อคุณแม่ต้องคอยชงนม เปลี่ยนผ้าอ้อม เด็กวัยนี้จึงต้องนอนในห้องเดียวกับพ่อแม่ คุณก็แค่เพิ่มเตียงหรือเปลเข้าไปในห้อง หรือปูเบาะบนเตียงที่คุณนอน และอาจเพิ่มชั้นวางของหรือโต๊ะเล็กๆ ที่มีล้อเลื่อนได้ สำหรับวางเครื่องใช้ เช่น ตระกร้าผ้าอ้อม อุปกรณ์ชงนม ถังขยะไว้ใกล้ๆ เพื่อความสะดวกในการใช้งาน วัยเรียนรู้ (4-8 ปี) วัยนี้อยู่ชั้นอนุบาลถึงประถมต้น เด็กๆ จะเรียนรู้ จดจำ เลียนแบบและซึมซับกับสิ่งแวดล้อมรอบๆ ตัว การตกแต่งห้องจึงควรเน้นพื้นที่โล่ง ให้เด็กๆ ได้เล่น ตกแต่งห้องด้วยสีสันที่สดใสและลวดลายการ์ตูนตัวโปรด ใช้เฟอร์นิเจอร์ลอยตัวที่ไม่มีเหลี่ยมมุม ขนาดเล็กพอๆกับตัวเด็ก เพื่อให้เคลื่อนย้ายง่ายและไม่เป็นอันตราย ถ้ามีของตกแต่งอื่นๆ ก็ควรติดไว้บนผนังสูงๆ เพื่อไม่ให้เด็กเอื้อมถึง  ช่วงประถมวัย ( 9-14 ปี) คือช่วงที่เรียนประถมปลายถึงมัธยมต้น ช่วงนี้เด็กๆ จะเริ่มสนใจเรื่องราวเฉพาะตัว เช่น เด็กผู้ชายจะเล่นกีฬาและเข้ากลุ่มกับเพื่อนๆ เด็กผู้หญิงจะสนใจเรื่องความสวยความงามหรือมีไอดอลในดวงใจ เด็กๆ มักต้องการผนังสำหรับแปะโปสเตอร์ศิลปินหรือนักกีฬาคนโปรด การตกแต่งห้องจึงควรให้เด็กๆ ได้มีส่วนร่วม อาจใช้สีที่นุ่มนวลตา ส่วนเฟอร์นิเจอร์ก็ยังคงเป็นแบบลอยตัว สัดส่วนเฟอร์นิเจอร์บางอย่างอาจเป็นแบบผู้ใหญ่ เพราะเด็กสมัยนี้โตไว […]

Read More