อีกวิธีในการแปลงเศษอาหารจากครัวเรือน ให้กลายเป็นปุ๋ยให้กับต้นไม้ ด้วย Green Cone ถังหมักรักษ์โลก โดยส่วนครึ่งล่างของถังจะถูกฝังอยู่ใต้ดิน ทำให้เศษอาหารถูกย่อยสลายกลายเป็นปุ๋ยให้กับพืชที่อยู่ข้างๆ ได้
แล้วที่ ถังหมักรักษ์โลก นี้ต้องมี 2 ชั้นแบบ ก็เพื่อเป็นฉนวนกันความร้อน และให้อากาศหมุนเวียนอยู่ภายใน จุลินทรีย์ก็จะย่อยสลายได้ดีขึ้นด้วย และที่สำคัญไม่ส่งกลิ่นเหม็น ก็เพราะว่า เป็นการย่อยสลายด้วยจุลินทรีย์แบบใช้อากาศ นั่นเอง จะมีขั้นตอนและอุปกรณ์อะไรบ้าง ตามมาดูกันเลย


วัสดุและอุปกรณ์ในการประกอบถังหมักรักษ์โลก
- ถังใบใหญ่ จำนวน 2 ใบ
- ถังใบเล็ก จำนวน 1 ใบ
- ฝาพลาสติก จำนวน 1 ใบ
- สว่านพร้อมหัว Hole Saw และ หัวเจาะไม้
- เลื่อยตัดเหล็ก หรือ เครื่องเจียร
- สายรัด Cable Tie
หลักในการเลือกขนาดถังที่เหมาะสม เมื่อนำถังใบเล็กประกบกับขอบถังใบใหญ่ ขอบถังใบเล็กจะเข้าไปในถังใบใหญ่ประมาณ 2 นิ้ว จึงจะเหมาะสม หรือเลือกซื้อถังขนาดใบใหญ่ 20 นิ้ว กับ ถังใบเล็กขนาด 18 นิ้ว ก็ได้เช่นกัน

Step 1 I นำถังใบเล็กมาตัดด้านล่างของถังออก ด้วยเลื่อยตัดเล็ก หรือเครื่องเจียร

Step 2 I นำถังใบใหญ่มาเจาะรูทั้งด้านข้างและด้านล่างของถัง ด้วยสว่านหัว Hole Saw เพื่อเป็นช่องว่างในการถ่ายเทอากาศจากดินสู่ถังหมัก และช่วยให้นักย่อยสลายต่างๆ อย่าง ไส้เดือน เข้ามาช่วยย่อยสลายได้

Step 3 I นำถังใบใหญ่อีกใบมาตัดด้านล่างออกจากถัง ซึ่งส่วนนี้จะใช้เป็นด้านบนของถัง

Step 4 I นำถังใบใหญ่ที่เจาะรูไว้ด้านล่างสุด จากนั้นำขอบของถังใบเล็กใส่เข้าไปในถังใบใหญ่ และสวมด้วยถังใบใหญ่อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งสาเหตุที่ต้องสวมด้วยถังใบใหญ่อีกครั้ง ก็เพื่อเป็นฉนวนควบคุมความร้อนไม่ให้อุณหภูมิสูงเกินไป จึงช่วยให้จุลินทรีย์ย่อยสลายได้ดีมากขึ้น

Step 5 I เมื่อประกอบเสร็จแล้วให้ยึดถังหมัก เริ่มต้นจากนำสว่านหัวเจาะไม้มาเจาะขอบถังให้เชื่อมถึงกัน แล้วใช้ Cable Tie รัดให้แน่น จากนั้นใช้กรรไกรตัด Cable Tie ให้เรียบร้อย

Step 6 I เมื่อประกอบถังเสร็จแล้ว ก็ให้เลือกพื้นที่ที่จะฝังถังหมัก โดยขุดดินให้ลึกประมาณครึ่งหนึ่งของถัง แล้วกลบบริเวณด้านล่างให้มิด เพียงเท่านี้ก็พร้อมนำเศษอาหารเทลงในถังหมัก และอย่าลืมปิดฝาเพื่อกันกลิ่นด้วย
@garden_and_farm #1MinFarming อีกหนึ่งวิธีในการแปลงเศษอาหาร ให้กลายเป็นปุ๋ยให้กับพืชด้วย #GreenCone #ถังหมักรักษ์โลก
♬ เสียงต้นฉบับ – บ้านและสวน Garden&Farm