ภัทร-ธรรมรักษ์นิเวศน์ คือชื่อสวนอนุรักษ์พันธุ์สมุนไพร ผักพื้นบ้าน ผักเป็นยา โครงการสวนแห่งใหม่ในบริเวณโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร โดยมูลนิธิโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ความน่าสนใจคือสวนกึ่งสาธารณะแห่งนี้ได้สร้างประสบการณ์ของการเดินชมสวนสวยในแบบที่ไม่เคยเป็นมาก่อน นั่นคือการเดินชมและเดินชิมพรรณไม้ไทยไปพร้อมๆ
โกสน ไม้ประดับใบสีสันสดใสที่นิยมใช้จัดสวน พลับพลึงที่ให้ดอกหอมสีขาวชวนมองจิกน้ำไม้ต้นฟอร์มสวนเหมาะจะเป็นไม้ประธานในสวน หรือแม้กระทั่งต้นปืนนกไส้ที่หลายคนมองเป็นวัชพืช ล้วนแต่สามารถกินได้และมีสรรพคุณทางยาให้ชวนสนใจ หากจะเรียกการเดินชมสวนภัทร-ธรรมรักษ์นิเวศน์ ว่าเป็นการเปิดโลกก็คงไม่ผิดแปลกนัก
ผักเป็นยา ผักพื้นบ้าน สมุนไพรจาก 4 ภาคทั่วไทย รวมไว้ในพื้นที่ว่า 16 ไร่จากพื้นที่ทั้งหมด 57.9 ไร่ ซึ่งอยู่ในขั้นตอนพัฒนาตามลำดับ วางแลนด์สเคปถอดรูปแบบมาจากโคก หนอง นา โมเดล ตามแนวคิดหลักที่เตรียมพร้อมสำหรับการรับมือวิกฤติด้านอาหาร สวนอนุรักษ์พันธุ์แห่งนี้เริ่มจากแพทย์หญิงโศรยา ธรรมรักษ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลได้เล็งเห็นความสำคัญของการสร้างแหล่งอาหารได้เอง ส่งต่อความรู้ที่รวบรวมไว้สร้างเป็นคลังอนุรักษ์พันธุกรรมของผักพื้นบ้านแล้วสร้างนิเวศในสวนให้พืชต่างถิ่นต่างที่มาสามารถเติบโตดำรงอยู่ร่วมกันได้
3 โซนสวนคือสัดส่วนของพืชกินได้ที่ออกแบบให้เกิดทัศนียภาพชวนมอง ล้อมรอบสระน้ำซึ่งเป็นพื้นที่กักเก็บน้ำที่บำบัดแล้วสำหรับดูแลต้นไม้ เชื่อมต่อแต่ละโซนเป็นทางเดินยาว ร่มรื่นไม่ต่างจากสวนสาธารณะ เริ่มจากโซนแรกเป็นสวนดอกไม้กินได้ มีหลายชนิดที่คุ้นตาไม่ว่าจะเป็นบานชื่นหนู บานไม่รู้โรย ดาวกระจาย หางนกยูงไทย แพรเซี่ยงไฮ้ กาหลง เป็นต้น
ต่อเนื่องไปยังโซนที่ 2 เป็นสวนที่ชวนตื่นตามากเพราะเมื่อสังเกตพันธุ์ไม้จะเห็นว่าบางส่วนเป็นไม้ประดับที่พบเจอในสวนทั่วไป บางส่วนเป็นวัชพืชคลุมดิน บางส่วนเป็นพันธุ์ไม้ต่างถิ่น แต่ทั้งหมดล้วนแต่เป็นไม้กินได้ มีสรรพคุณทางยา แต่ไม่เป็นที่รู้จักในวงกว้าง เช่น บุนนาค จิกน้ำ โกสน หมากผู้หมากเมีย โสมไทย ตรีชวา สันพร้าหอม เป็นต้น
ด้วยความหลากหลายของพันธุ์ไม้ต่างถิ่นกลายเป็นเรื่องท้าทายของทีมออกแบบตำแหน่งปลูกเป็นเรื่องสำคัญมากเพื่อให้พืชเหล่านี้เติบโตตามธรรมชาติโดยทดลองจำลองสภาพแวดล้อมของพืชนั้นๆ ผ่านความรู้ของผู่เชี่ยวชาญ วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง แล้วจึงวางตำแหน่งปลูกให้กระจายทั่วทั้งโซน หากชนิดใดเติบโตได้ดีจะวางให้เป็นพืชแปลงหลักซึ่งต้องทดลองปลูกจนพืชสามารถดำรงอยู่แล้วเติบโตร่วมกันได้
ปิดท้ายที่โซนที่ 3 ที่จัดวางกรีนเฮ้าส์ให้เป็นโรงเรือนสำหรับปลูกพืชผักสวนครัวคู่บ้านที่คนทั่วไปล้วนรู้จักกันดี ไม่ว่าจะเป็นกะเพรา โพระพา มินต์ ผักเป็ดแดง พริก มะเขือ เป็นต้น
หญ้าหนวดแมว ชื่อวิทยาศาสตร์ Solanum melongena
การใช้ประโยชน์ : ใบ รสจืด ต้มดื่มแก้กระษัย ไตพิการ ขับปัสสาวะ ลดน้ำตาลในเลือด ลดความดันโลหิต
ผักชีช้าง ชื่อวิทยาศาสตร์ Asparogusrocemosus Mild.
การใช้ประโยชน์ : ใบและยอดอ่อนใช้รับประทานเป็นผักสดหรือแกงอ่อมแทนผักชีลาว ใบต้มแก้ซางเด็ก รากต้มแก้โรคเบาหวาน ขับปัสสาวะ บำรุงครรภ์ แก้กระษัย ปลูกเป็นไม้ประดับประเภทตัดช่อใบประดับ
ว่านกาบหอยใหญ่ ชื่อวิทยาศาสตร์ Rhoco discolor (L’Herit.) Hance.
การใช้ประโยชน์ : ใบสดต้มใส่น้ำตาลรับประทานแก้ไอ แก้ร้อนในกระหายน้ำแก้อาเจียนเป็นโลหิต แก้ช้ำใน ดูน้อยลง
มะลิลา ชื่อวิทยาศาสตร์ Jasminum sambac Ait.
การใช้ประโยชน์ : ดอกใช้บำรุงหัวใจ ดับพิษร้อน ทำจิตใจให้ชุ่มชื่นใบสดแก้แผลเรื้อรัง แก้พิษฝีดาษ แก้คุดทะราด ขับเสมหะและโลหิตรากใช้ฝนหรือต้มดื่มแก้ปวด แก้ปวดศีรษะ แก้เลือดออกตามไรฟันแก้หลอดลมอักเสบ
พลับพลึง ชื่อวิทยาศาสตร์ Crinum amabile L.
การใช้ประโยชน์ : หัวใช้ต้มน้ำดื่มขับเสมหะ ระบายท้อง แก้น้ำดีพิการราก ใช้เคี้ยวกลืนทำให้อาเจียน ต่ำพอกบาดแผล แก้พิษยางน่องใบใช้ย่างไฟให้อ่อนตัว นำมาประคบแก้ฟกช้ำดำเขียว เคล็ดขัดยอกเมล็ดใช้เป็นยาบำรุงร่างกาย ระบายท้อง ขับปัสสาวะและระดู
เล็บครุฑใบผักชี ชื่อวิทยาศาสตร์ P. fruticosa Harms.
การใช้ประโยชน์ : นำมาประกอบอาหารได้ เช่น กุ้งทอดใบเล็บครุฑ ใบเล็บครุฑผัดไข่ยอดอ่อนเล็บครุฑ จิ้มน้ำพริกใบใช้ตำพอกแก้ปวดบวมอักเสบ สมานแผล แก้ไข้รากต้มดื่มขับปัสสาวะ ระงับประสาท แก้ปวดข้อ สูดดมขับเหงื่อ
เข็มขาว ชื่อวิทยาศาสตร์ Ixora ebarbata Craib.
การใช้ประโยชน์ : ใบฆ่าพยาธิดอกแก้โรคตารากแก้เจ็บตา ขับเสมหะ แก้บวม เจริญอาหารบำรุงไฟในธาตุ แก้ตาพิการ
ชบา ชื่อวิทยาศาสตร์ Hibiscus rosa-sinensis Linn.
การใช้ประโยชน์ : รากมีรสเฝือนเป็นเลือก ตำพอก ดับพิษฝี พิษอักเสบฟกบวม ระบายอุจจาระ ต้มใช้รับประทาน ขับน้ำย่อย เจริญอาหารดอกมีรสหวานเย็น ต่ำพอกหรือทาบำรุงเส้นผม
หมากผู้หมากเมีย ชื่อวิทยาศาสตร์ Cordyine fruticose Goeppert.
การใช้ประโยชน์ : ใช้ดอกอ่อนลวกรับประทานเป็นผัก
แก้ว ชื่อวิทยาศาสตร์ Murraya paniculate (L.) Jack.
การใช้ประโยชน์ : ใบมีรสร้อนเผ็ดขม ขับโลหิตระดูสตรี บำรุงธาตุ แก้จุกเสียด แน่นท้องรากสดมีรสเผ็ดสุขุม ต้มกับน้ำกินแก้แผลฟกช้ำรากแห้งหั่นเป็นฝอยตุ๋นกับหางหมูเจือสุรากินแก้ปวดเมื่อยเอวก้านและใบสด รสเผ็ดร้อนขม ใช้ทาหรือฉีดเป็นยาระงับปวดต้มอมบ้วนปากแก้ปวดฟัน ก้านใช้ทำความสะอาด
ผักเป็ดแดง ชื่อวิทยาศาสตร์ Alternanthera bettzickiana (Regel) G.Nicholson
การใช้ประโยชน์ : นำมาใช้ปรุงเป็นอาหารได้ นำมาชุบแป้งทอดให้กรอบหรือนำมาใส่แกงทั้งต้นดับพิษโลหิต ทำให้โลหิตเย็น ฟอกโลหิตระดูที่พิการเป็นสิ่มเป็นสิ่มเป็นก้อนดำเหม็น
ผักเสี้ยนผี ชื่อวิทยาศาสตร์ Cleome viscosa L.
การใช้ประโยชน์ : ยอดอ่อน ใบอ่อน และดอกอ่อน นำมาใช้ดองเป็นผักจิ้มต้นใช้ขับหนองในร่างกาย แก้ฝีภายใน เช่น ฝีในปอด ใบและเมล็ด ขับน้ำเหลืองเสีย แก้ปัสสาวะพิการ ดอกฆ่าเชื้อโรค ฆ่าเชื้อพยาธิรากแก้โรคผอมแห้งเนื่องจากคลอดบุตร
หญ้าแห้วหมู ชื่อวิทยาศาสตร์ Kyllingamonocephala Rottle.
การใช้ประโยชน์ : หัวมีรสเผ็ดหอมปร่า บำรุงธาตุ ขับลมในลำไส้ แก้ปวดท้อง
น้ำนมราชสีห์เล็ก ชื่อวิทยาศาสตร์ Euphorbia humifusa Willd.
การใช้ประโยชน์ : ทั้งต้นมีรสฝาดสุขุม บำรุงและเร่งน้ำนม ห้ามเลือด แก้บิด แก้ปัสสาวะ อุจจาระเป็นเลือด แก้ริดสีดวงทวาร ห้ามสตรีมีครรภ์รับประทาน
กรดน้ำ ชื่อวิทยาศาสตร์ Scoparis dulcis L.
การใช้ประโยชน์ : ต้นมีรสฝาด แก้ไอ แก้ไข แก้ท้องเสีย แก้ปวดท้อง แก้ขัดเบาแก้เหงือกบวม แก้ปากเปื่อยใบมีรสฝาด ขับระดูขาว แก้ไอ บำรุงธาตุ แก้ไข้ แก้ปวดฟันผลมีรสฝาดเมา ขับพยาธิไส้เดือนรากมีรสฝาด ขับพยาธิ ขับปัสสาวะ แก้ไข แก้ปวดศีรษะ แก้ผื่นคันแก้บิด แก้ท้วงร่วง
ผักคราด/ หัวแหวนเล็ก ชื่อวิทยาศาสตร์ Acmellaoleraceae (L.) R.K. Jansen
การใช้ประโยชน์ : ทั้งต้นแก้พิษ แก้ไข้ในเด็ก ต้นสดนำมาตำผสมเหล้าหรือน้ำส้มสายชูเพื่อใช้อมแก้ฝีในลำคอ ต่อมน้ำลายอักเสบ แก้ไอ แก้ปวดฟัน ช่อดอกและเกสร มีฤทธิ์เป็นยาซา สามารถนำมาอุดฟันลดปวดได้
ปืนนกไส้ ชื่อวิทยาศาสตร์ Bidens pilosa
การใช้ประโยชน์ : ต้านเชื้อจุลินทรีย์ แก้อักเสบ ขับปัสสาวะ ห้ามเลือดและรักษาไข้มาลาเรีย ภาคเหนือรับประทานเป็นผักดอง
เพราะความมั่นคงทางอาหารคือหนึ่งประเด็นที่กำลังเป็นที่จับตา การปลูกพืชเพื่อเป็นอาหารดำรงชีพจึงเป็นหนึ่งทางรอดแห่งอนาคต ไม่ใช่แค่ พืชผัก ไม้ผล เท่านั้นที่เป็นอาหารได้ แต่ต้นไม้หลายชนิดบนโลกนี้ต่างมีประโยชน์ทางโภชนาการเป็นนัยยะซ่อนเร้นไว้ให้ผู้คนได้เรียนรู้ และยังมีคุณค่าทางยา ที่ส่งผลต่อสุขภาพร่างกายมนุษย์ด้วยเป็นความตื่นตาตื่นใจของการสำรวจสวนภัทร-ธรรมรักษ์นิเวศน์ครั้งนี้
เรื่อง JOMM YB
ภาพ สิทธิศักดิ์ น้ำคำ