แนวทางการประยุกต์ใช้ เกษตรฟื้นฟู ในการทำฟาร์มออร์แกนิก

เกษตรฟื้นฟู
หมูสายพันธุ์ดูร็อค (Duroc) และ หมูสายพันธุ์แลนด์เรซ (Landrace) ที่นำมาเลี้ยงกลางแจ้งเพื่อให้หมูได้วิ่งเล่นออกกำลังกาย

การเลี้ยงหมูและห่านรวมกัน

ถ้าหาข้อมูลจะพบว่ามันไม่มีบอกว่าหมูจะอยู่กับห่านได้ไหม แต่เราทำคอกไม่ทันก็เลยให้เลี้ยงด้วยกัน แล้วอยู่ด้วยกันอย่างสบายใจด้วย เราเลี้ยงด้วยกันตั้งแต่เล็ก ส่วนใหญ่จะมีทะเลาะกันเองมากกว่า แต่ไม่มีหมูกับห่านที่ทะเลาะกัน

ส่วนด้านนอกจะปลูกเป็นถั่วฮามาต้า ที่ทนต่อการเหยีบย่ำ ทนแล้ง และมีโปรตีนสูง เพื่อเป็นอาหารให้กับหมูและห่าน
เกษตรฟื้นฟู

ที่เราเลือกเลี้ยงห่านก็เพราะว่า มันกินหญ้าด้วยเหมือนกัน อยู่ได้โดยที่ไม่ต้องซื้ออาหารเข้ามา สมัยก่อนที่ยุโรปเขาจะจ้างฝูงห่านที่เยอะมากๆ เขาเรียกว่า Weeder Geese คือ ห่านกำจัดวัชพืช เพื่อกำจัดวัชพืชในไร่ฝ้าย โดยที่เขาไม่ต้องไปตัดหญ้า 

เกษตรฟื้นฟู
มูลของพ่อแม่พันธุ์หมูที่เลี้ยงภายในคอกจะนำมาหมักกับฟาง ซึ่งใช้ระยะเวลาประมาณ 3 เดือน ในการย่อยสลาย
เพื่อพร้อมสำหรับนำไปเป็นวัสดุปลูกผักแบบ No Dig No Till
การออกแบบมีการประยุกต์ให้เหมาะสมกับในการเลี้ยงไก่ในประเทศไทย โดยเพิ่มพื้นที่หลังคาให้โปร่งสูงมากขึ้น ช่วยให้อากาศถ่ายเทได้ดีขึ้น
ไก่ที่เลี้ยงในเล้าแบบนี้จะไม่เหมาะที่จะเลี้ยงในช่วงฤดูฝน เพราะมีปัญหาและโรคเยอะ เนื่องจากสภาพอากาศไม่เหมาะสม จึงจะเลี้ยงเฉพาะฤดูหนาวและฤดูร้อนเท่านั้น

การเลี้ยงไก่เนื้อในเล้า

เวลาเลี้ยงจะให้ไก่อยู่ในเล้ากินหญ้าและสร้างปุ๋ยให้กับแปลงนา ในแต่ละครั้งเราจะเลี้ยง 100 ตัว โดยใน 1 คอก จะเลี้ยงได้ประมาณ 40 ตัว ภายใน 1 ปี เราจะเลี้ยงได้ 4-5 รอบ หมายความว่า เราจะเลี้ยงได้ 400-500 ตัว เพราะใช้เวลาในการเลี้ยง 6 สัปดาห์ก็ขายได้แล้ว แต่ก็ยังต้องเสริมด้วยอาหารเม็ดอยู่บ้าง ส่วนเนื้อไก่ที่ได้จะมีรสชาติกว่าเนื้อไก่ปกติ เนื้อจะไม่ขาวจะออกสีน้าตาล เพราะว่า มันกินหญ้าบ้าง กินแมลงบ้าง

การจำหน่ายและการตลาดสำหรับฟาร์มออร์แกนิก

กลยุทธ์การตลาดก็สำคัญเหมือนกัน เราทำการตลาดทางตรงไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง เราขายผ่าน Facebook Instagram Tiktok และจัดส่งด้วยรถขนส่งควบคุมอุณหภูมิ พอเข้าไปในเมืองหลังจากส่งไปรษณีย์เสร็จก็กระจายผ่าน Grab ก็ช่วยให้ขนส่งได้อย่างรวดเร็ว

แล้วลูกค้าจะเข้าใจและเข้าถึงเราได้อย่างไร เรามีโซเชียลมีเดีย Udon Organic Farm เป็นช่องทางสำหรับจำหน่ายสินค้า ส่วน น้องเจนทำฟาร์ม เป็นอีกช่องทางที่ให้ความรู้และถ้าคนอยากซื้อสินค้าก็ให้ติดต่ออีกเพจหนึ่งแทน

ซึ่งลูกค้าก็สามารถ Subscription ได้ โดยทางฟาร์มจะส่งสินค้าเป็นรายสัปดาห์ นอกจากนี้ยังมีการแปรรูป เพิ่มมูลค่าจากเนื้อหมูออร์แกนิกให้เป็นเบคอนออร์แกนิกด้วย รวมทั้งปลูกอะไรที่คนนิยมทาน เช่น เลมอน มัลเบอร์รีแล้วนำมาแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าเช่นกัน

นอกจากนั้นก็ยังมีเครื่องดื่มน้ำหมักมะขามป้อมที่แปรรูปจากมะขามป้อมภายในฟาร์ม โดยฝีมือของคุณแม่ติ๊ก ถ้าใครได้ชิมรับรองว่าถูกใจสาวกมะขามป้อมแน่นอน

คำแนะนำสำหรับผู้ที่อยากจะริเริ่มเกษตรฟื้นฟู

อยากให้ลงมือทดลองเล็กๆ น้อยๆ ก่อน มันไม่มีสูตรตายตัว ซึ่งจะแตกต่างจากการทำเกษตรแบบอุตสาหกรรมที่มีวิธีการทำที่ละเอียด แต่พอทำการเกษตรที่เดินพร้อมกับธรรมชาติ ต้องทำการเกษตรที่เหมาะสมกับระบบนิเวศบริเวณนั้นด้วย

เราต้องสังเกตธรรมชาติว่า พืชชนิดไหนที่เจริญเติบโตได้ดี เราก็ปลูกพืชชนิดนั้นไหม แทนที่เราจะดันทุลังปลูกพืชที่ไม่เหมาะสม ดูสภาพอากาศแล้วเปรียบเทียบ อย่างของเราสภาพอากาศคล้ายกับที่สเปนปลูกเลมอนได้แดดร้อนเหมือนกัน ไม่ใช่แค่อยากปลูกอะไรที่คนอื่นขายได้ดี แต่ให้สังเกตสิ่งแวดล้อมของเราด้วย

นอกจากนี้ให้ศึกษาความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ไปคุยกับคนแก่ที่อยู่ในหมู่บ้านเขาจะรู้ว่าอันไหนกินดีอันไหนกินไม่ดี บางสถานที่ยังมีผลไม้ท้องถิ่นที่ไม่มีขายในตลาด แต่ยังมีอยู่ที่นี่ 

เรื่อง : กิตตินัย อัศวเลิศลักษณ์

ภาพ : อนุพงษ์ ฉายสุขเกษม

สวนครัวบนดาดฟ้า อาคารพาณิชย์เก่าที่มีพืชผักกว่า 100 ชนิด

สวนวานิลลา ข้างบ้าน กิจกรรมไม่เล็กภายในครอบครัว ที่มีต้นวานิลลากว่า 1,000 ต้น