ทำไมต้องใช้ ถ่านชีวมวล เพียวชาร์ ?? คำตอบของคำถามนี้ได้มาจากโครงการวิจัย “การประยุกต์ถ่านชีวมวลจากเศษไม้แปรรูป เพื่อศักยภาพในการใช้เป็นวัสดุปรับปรุงดิน” ภายใต้ความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน และบริษัท บาฟส์ อินโนเวชั่น ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (BID) ผู้ผลิต เพียวชาร์ (PureChar) ถ่านชีวมวลบำรุงดิน
เป็นที่น่าสนใจเมื่อผลการทดสอบพบว่า การใช้ ถ่านชีวมวล เป็นส่วนผสมในดินปลูก ส่งผลดีต่อการเติบโตของพืช แม้ว่าดินที่ปลูกจะไม่ใช่ดินที่สมบูรณ์ก็ตาม
ถ่านชีวมวลเพียวชาร์ (PureChar) วัสดุปรับปรุงดินรักษ์โลกภายใต้บริษัท บาฟส์ อินโนเวชั่น ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (BID) จากความตั้งใจผลิตถ่านชีวมวลให้มีคุณภาพที่ดีขึ้น โดยให้ความสำคัญในทุกขั้นตอน ตั้งแต่เลือกวัตถุดิบซึ่งเป็นชีวมวลจากภาคการเกษตร ก่อสร้าง และอุตสาหกรรม อย่างเศษไม้จากเฟอร์นิเจอร์และงานก่อสร้าง กิ่งไม้จากการตัดแต่ง ผ่านกระบวนการผลิตแบบไพโรไลซิสที่มีการควบคุมอุณหภูมิและปริมาณออกซิเจน จนได้วัสดุปรับปรุงดินที่มีมาตรฐานคงที่
มาตรฐานการผลิตเป็นเพียงส่วนหนึ่ง แต่ก้าวอีกสเต็ปคือประสิทธิภาพจากการใช้เพียวชาร์ “ใช้อย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุด” จึงเกิดความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน เพื่อสร้างมาตรฐานผลิตภัณฑ์ให้มีความสอดคล้องกับมาตรฐานสากลของอเมริกา (International Biochar Initiative: IBI) และให้ได้อัตราส่วนในการใช้เพียวชาร์กับดินประเภทต่างๆ อย่างเหมาะสม เกิดประโยชน์ต่อผู้ใช้ ดิน และโลกที่ยั่งยืน
คุณกฤษณ์ มดิศร กรรมการผู้จัดการ กล่าวว่า “ความร่วมมือในครั้งนี้เกิดจากความตั้งใจของทาง บาฟส์ อินโนเวชั่น ดีเวลลอปเม้นท์ ผู้ผลิตเพียวชาร์ โดยมีวัตถุประสงค์อยากให้สินค้ามีคุณภาพดีจริงๆ เริ่มตั้งแต่การสรรหาวัตถุดิบที่ดี กระบวนการผลิตแบบไพโรไลซิสที่ถูกต้อง เพื่อให้ได้ถ่านชีวมวลที่มีคุณภาพแตกต่างจากถ่านหุงต้มธรรมดาทั่วไป ซึ่งสิ่งที่จะสะท้อนคุณภาพของสินค้าได้อีกอย่าง ก็คือ ผลการทดสอบ โดยผู้เชี่ยวชาญและระบบที่ได้มาตรฐาน จึงเกิดเป็นความร่วมมือกันในครั้งนี้”
สำหรับมาตรฐานการผลิตไบโอชาร์ให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล คือ The International Biochar Initiative (IBI) โดยผลการทดสอบของเพียวชาร์ในความร่วมมือครั้งนี้มีความสอดคล้องกับมาตรฐาน IBI
โครงการวิจัย เรื่อง การประยุกต์ถ่านชีวมวลจากเศษไม้แปรรูป เพื่อศักยภาพในการใช้เป็นวัสดุปรับปรุงดิน มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อให้เกษตรกรสามารถใช้ถ่านชีวมวลร่วมกับดินในอัตราส่วนที่เหมาะสม และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อคุณภาพของผลผลิต และการพัฒนาพืชผลแต่ละชนิด คณะทำงานประกอบด้วย คุณวันวิสาข์ วัฒนะพันธ์ศักดิ์, คุณธรรมธวัช แสงงาม, คุณใยไหม ช่วยหนู, ดร.พงษ์เพชร พงษ์ศิวาภัย และ ดร.ณัชชา ศรหิรัญ โดยศึกษาอัตราส่วนของถ่านชีวมวลในแต่ละอัตราส่วนเพื่อศึกษาหาอัตราส่วนที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืช ซึ่งพืชที่ใช้ทดสอบ ได้แก่ ข้าวหอมปทุม, มะเขือเทศเชอรี่ (CH154), ผักสลัดกรีนโอ๊ค (Green Oak) และผักเคล (Kale) พืชทั้งหมดทำการทดลอง 5 ทรีทเมนต์ 4 ซ้ำ คือ
1. ชุดควบคุม (control) คือดินที่ไม่ผสมถ่านชีวมวล
2. ดินผสมถ่านชีวมวลสูตร 100% ร้อยละ 1 (10 กรัม)
3. ดินผสมถ่านชีวมวลสูตร 100% ร้อยละ 2 (20 กรัม)
4. ดินผสมถ่านชีวมวลสูตรพรีเมียมผสมมูลไส้เดือน ร้อยละ 1 (10 กรัม) 5. ดินผสมถ่านชีวมวลสูตรพรีเมียมผสมมูลไส้เดือน ร้อยละ 2 (20 กรัม) เพาะปลูกในโรงเรือน
ลักษณะของแต่ละชุดดิน
หลักเกณฑ์ในการเลือกชุดดินมาทดลองเพื่อให้เกษตรกรหรือผู้รักในการปลูกต้นไม้ได้เลือกใช้ให้เหมาะกับพื้นที่ของตนเอง หลักๆ จะแบ่งลักษณะและคุณสมบัติของดิน ดังนี้
- ค่า pH ของดิน เป็นกรด-ด่าง
- ดินเหนียว ดินร่วน ดินทราย
โดยดินที่นำมาทดลองมีลักษณะ และค่า pH ดังนี้
1. ชุดดินกำแพงแสน ลักษณะดินร่วนปนทราย สีน้ำตาลเข้ม pH 7-8
2. ชุดดินองครักษ์ ดินเหนียว มีสีดำหรือสีเทาเข้ม ดินที่มีความเป็นกรด pH 3.5-4.5
3. ชุดดินชัยนาท ดินเหนียวปนทรายแป้ง pH 6.5-8
4. ชุดดินน้ำพอง ดินทรายร่วน เป็นกรดมาก pH 5-6
5. ชุดดินปากช่อง มีค่าฟอสเฟตสูง เป็นกรดถึงกลาง pH 4.5 -7 6. ดินผสมสำเร็จรูป pH 6.5-7
ผักสลัดกรีนโอ๊ก ทดสอบด้วยการใช้ดินถุงผสมที่มีขายทั่วไปตามท้องตลาด เมื่อย้ายกล้าปลูกลงกระถางจะรองก้นด้วยถ่านชีวมวลทั้งหมด 5 ทรีทเมนต์ ผลที่ได้พบว่า ดินที่ผสมถ่านชีวมวลสูตรพรีเมียมผสมมูลไส้เดือน ร้อยละ 2 (20 กรัม) ให้ผลดีทั้งขนาด ความสูงต้น และน้ำหนักสด
ผักเคล ลักษณะของดินที่นำมาทดสอบเป็นดินทราย ปลูกในกระถางขนาด 12 นิ้ว นำถ่านชีวมวลมาคลุกรวมกับดิน และนำมาเพาะปลูก พบว่า ดินที่คลุกผสมถ่านชีวมวลสูตรพรีเมียมผสมมูลไส้เดือน ร้อยละ 2 (20 กรัม) มีต้นที่สูง ขนาดทรงพุ่มกว้าง ใบใหญ่ที่สุด
มะเขือเทศเชอรี่ (CH154) ทดสอบด้วยการใช้ดิน 3 ชนิด คือ 1. ชุดดินกำแพงแสน pH7-8 2. ชุดดินลำน้ำพอง pH 5-6 3. ชุดดินปากช่อง pH 4.5 -7 เริ่มผสมชุดดินแต่ละชุดกับถ่านชีวมวล ลงในกระถาง 18 นิ้ว ผลการทดลองพบว่า ชุดดินปากช่องดินที่ผสมถ่านชีวมวลสูตรพรีเมี่ยมผสมมูลไส้เดือน ร้อยละ 2 (20 กรัม) ให้ผลดีที่สุด ทั้งเรื่องของความสูงต้น และน้ำหนักสด มะเขือเทศที่ปลูกในชุดดินปากช่องให้ความหวานมากสุดที่ 11-13 Brix ชุดดินที่ได้ผลลัพธ์น้อยที่สุดคือ ชุดดินลำน้ำพองเนื่องจากมีธาตุอาหารน้อย แต่เมื่อเทียบกันต้นที่ใส่ถ่านชีวมวลจะให้ผลดีกว่าต้นที่ไม่ได้ใส่
ข้าวหอมปทุม ทดสอบด้วยการใช้ดิน 3 ชนิด คือ 1. ชุดดินกำแพงแสน pH7-8 2. ชุดดินชัยนาท pH6.5-8 3. ชุดดินองครักษ์ pH 3.5-4.5 เนื่องจากชุดดินองครักษ์มีค่าความเป็นกรดสูง ก่อนที่จะทำการทดลองต้องนำมาบ่ม โดยใช้ปูนขาวโรยผสมกับชุดดินองครักษ์และเติมน้ำให้ท่วมชุดดิน จากนั้นบ่มดินทิ้งไว้ 4 สัปดาห์หรือ 1 เดือน และเมื่อเริ่มทำการทดลองจะนำถ่านชีวมวลมาคลุกผสมกับดินทั้ง 3 ชุด
โดยจะปลูกทดสอบในกระถาง พบว่าชุดดินชัยนาทต้นข้าวจะเจริญเติบโต ออกรวงได้ดีที่สุด รองลงมาคือชุดดินกำแพงแสน และชุดดินองครักษ์ ในชุดดินองครักษ์ที่นำมาผสมกับถ่านชีวมวลพบว่า มีค่าความเป็นกรดลดลง เนื่องจากตัวถ่านชีวมวลมีความเป็นด่าง เมื่อค่า pH ที่มีความด่างมากๆ มาเจอกันจะทำปฏิกิริยากัน ให้ค่าความเป็นกรดมีค่าเป็นกลางหรือด่างมากขึ้น ส่วนในดินที่มีค่าความเป็นด่างอยู่แล้วจะไม่ได้ทำปฏิกิริยาต่อกัน
แตงกวา เป็นพืชที่ทางทีมวิจัยปลูกทุกๆ 3 เดือน โดยปลูกลงดินเป็นชุดดินกำแพงแสน เริ่มใช้ถ่านชีวมวลสูตรพรีเมียมผสมมูลไส้เดือน ร้อยละ 1 (10 กรัม) ตอนรองก้นหลุมก่อนย้ายกล้าปลูก จากนั้นโรยถ่านชีวมวลบำรุงต้น เดือนละ 1 ครั้ง ผลที่ได้พบว่า ต้นและการติดผลของแตงกวาที่ใส่ถ่านชีวมวลดีกว่าต้นที่ไม่ได้ใส่ ต้นมีลักษณะสูง ใบใหญ่ และติดลูกดก นอกจากนี้ตัวถ่านชีวมวล สามารถผสมในดินที่ใช้ปลูกกล้า เพื่อปรับโครงสร้างดิน ลดการใส่ปุ๋ย และรักษาความชื้นในดิน
ประโยชน์จากการใช้ถ่านชีวมวลเพียวชาร์
คุณสมบัติของถ่านเพียวชาร์ มีปริมาณรูพรุนและพื้นที่ผิวสูง ที่เกิดจากกระบวนการไพโรไลซิส เป็นการเผาไหม้แบบปราศจากออกซิเจน หรือใช้ออกซิเจนที่น้อยมาก มีการควบคุมอุณหภูมิที่เผาให้คงที่ และอยู่ในจุดที่ทำให้ตัวถ่านมีคุณภาพที่ดี ตัวรูพรุน ทำหน้าที่เสมือนกับฟองน้ำ ที่สามารถกักเก็บน้ำ และธาตุอาหารไว้ในรูพรุน ยิ่งรูพรุนมากจะสะสมได้มาก จึงเกิดประโยชน์ต่างๆ ได้แก่
1. เป็นที่อยู่ของจุลินทรีย์ ช่วยปรับโครงสร้างของดิน ทำให้ดินมีความร่วนซุย รากพืชเดินได้ดี
2. ช่วยรักษาความชื้น และรักษาอุณหภูมิให้กับราก
3. ช่วยลดปริมาณการใส่ปุ๋ย ป้องกันธาตุอาหารหรือปุ๋ยที่ใส่ให้ต้นไม้ไหลชะไปกับน้ำ โดยจะถูกกักเก็บไว้ที่รูพรุน
4. ช่วยปรับสภาวะความเป็นกรด-ด่างในดิน เนื่องจากถ่านชีวมวลมีค่าความเป็นด่าง
5. สามารถแก้ไขมลภาวะทางน้ำ ช่วยบำบัดน้ำเสีย โดยการดูดซับโลหะหนักและสารเคมีเอาไว้ในรูพรุน 6. ช่วยลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศ สาเหตุหนึ่งของการเกิดก๊าซเรือนกระจก
ด้วยประโยชน์สำคัญของเพียวชาร์ที่ช่วยกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ในอนาคตจะมีการพัฒนาสู่โครงการที่ 2 ในแง่ของประโยชน์ในกักเก็บคาร์บอน (carbon sequestration) นำร่องไปยังการสร้างคาร์บอนเครดิต ที่จะมีการซื้อขายกันเป็นวงกว้างในอนาคต
สอบถามข้อมูลถ่านชีวมวลเพียวชาร์เพิ่มเติมได้ที่
Line Official Account: @purechar
Inbox Facebook Fan page: https://www.m.me/purecharbybid
Shopee: shopee.co.th/purechar