ไร่วันยังขำ สวนจามาคารู กระบองเพชรยักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ

เกษตรกรสาวรุ่นใหญ่ที่มีคาเรกเตอร์ร่าเริงอารมณ์ดีและยิ้มแย้มแจ่มใส ซึ่งจะเห็นเธอได้ผ่านทางคลิป Reels จนทำให้ผู้คนที่ได้ชมคลิปต้องสนุกไปกับกิจกรรมภายในสวนระหว่างเธอกับ จามาคารู กระบองเพชรขนาดใหญ่ที่เธอได้ปลูกไว้เมื่อ 3 ปีที่แล้ว ที่ ไร่วันยังขำ One young kham farm จังหวัดศรีสะเกษ จามาคารู เป็นกระบองเพชรขนาดใหญ่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cereus hildmannianus นิยมนำมาปลูกเพื่อตกแต่งสวน และผลก็สามารถนำมารับประทานได้ มีรสชาติหวานอร่อย โดยตลอดระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา คุณภา – สุภาวดี นิยมวงศ์ เป็นผู้ที่ปลูกต้นจามาคารูในสวนแห่งนี้ คุณภา เล่าว่า “ปกติเราก็เลี้ยงแคคตัสเป็นกระถางเล็กๆ อยู่ในโรงเรือนก่อน แล้วลูกเขยก็ซื้อต้นจามาคารูมา เราก็ลองเอามาปลูกแบบกลางแจ้งในร่องผลไม้ เพราะมีพื้นที่ว่างอยู่เยอะมาก แล้วปรากฏว่ามันก็โตงาม มีสีบลูๆ ตัดกับสีของดินภูเขาไฟที่มีสีแดงๆ ทำให้รู้สึกถูกชะตากับต้นไม้ต้นนี้มาก ก็เลยขยายพันธุ์มาเรื่อยๆ” จากความชอบสู่การสร้างรายได้ หลังจากนั้นเธอได้ลองนำต้นจามาคารูที่ปลูกและขยายพันธุ์เอาไว้เป็นระยะเวลา 1 ปี มาลองจำหน่ายผ่านกลุ่มเฟสบุ๊กสำหรับผู้ที่ชื่นชอบกระบองเพชร ก็พบว่าสามารถจำหน่ายได้ พร้อมกับสมาชิกภายในครอบครัวเห็นตรงกันว่า เธอชอบถ่ายรูปเล่นกับต้นจามาคารู จึงได้เปิดเพจเฟสบุ๊กให้เธอได้ลองจำหน่าย“ “แม่ภาเป็นคนที่ชอบเล่นชอบถ่ายรูปลงในเฟสบุ๊กอยู่แล้ว เด็กๆ ก็เลยเพิ่มสนามเล่นให้แม่ ทำเป็นเพจเฟสบุ๊กเอาไว้ […]

Read More

รู้จักหน้าค่าตาของแคคตัสกัน

“แคคตัส” เป็นพันธุ์ไม้สกุลหนึ่งที่มีลักษณะหน้าตาต่างจากพันธุ์ไม้อื่นๆ จะว่าดูแปลกประหลาดก็คงได้ แต่นั่นก็คือ สิ่งที่น่าดึงดูดใจคนมากมายให้หลงใหล มาทำรู้จักหน้าตาของแคคตัสกัน ลำต้น แคคตัสเป็นไม้อวบน้ำที่มีรูปทรงตันหลากหลาย ทั้งแบบทรงกลม ทรงกระบอก ไปจนถึงสูงชะลูดคล้ายกระบอง มีทั้งที่ขึ้นเป็นต้นเดียวโดดเดี่ยว ขึ้นรวมกันเป็นกลุ่ม หรือแตกกอ เส้นผ่าศูนย์กลางของลำต้นมีตั้งแต่เล็กไม่กี่เซนต์ ไปจนถึงใหญ่เป็นเมตรๆ และอาจเป็นลำสูงใหญ่กว่า 20 เมตร หรือมีลักษณะเป็นสายห้อยลง ผิวของลำต้นเป็นมันคล้ายเคลือบด้วยขี้ผึ้ง เพื่อช่วยลดการสูญเสียน้ำ ส่วนใหญ่มีสีเขียวเพื่อใช้สังเคราะห์แสง ลักษณะต้นประกอบด้วย “ตุ่มหนาม” (areole) ซึ่งอาจเรียงต่อกันอยู่บนแนวซี่หรือสันสูงของต้นที่เรียกว่า สันต้น (rib) หรือเรียงอยู่บนเนินนูนที่เรียกว่า “เนินหนาม” (tubercles) ของต้นก็ได้ หนาม คือจุดเด่นของแคคตัส ซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนใบให้กลายเป็นหนาม เพื่อให้เหมาะกับสภาพอากาศที่ร้อนและแห้งแล้ง ทำให้ต้นคายน้ำน้อยลง อยู่รอดและเจริญเติบโตต่อไปได้ หนามของแคคตัสมีหลายแบบ หลายลักษณะ บางชนิดมีหนามแหลมคล้ายเข็มเย็บผ้า บางชนิดปลายหนามงอคล้ายตะขอ บางชนิดเป็นขนนุ่ม สีสรรก็มีหลากหลาย เช่น ขาว เหลือง สีม แดง น้ำตาล ไปจนถึงดำ ซึ่งอาจเปลี่ยนสีไปตามอายุ สภาพอากาศและการเลี้ยงดู หนามจะขึ้นเรียงอยู่บนตุ่มหนาม […]

Read More