people
- Home
- people
คม ศรีราช วิศวกรที่กลับบ้านเกิดเพื่อสร้างแหล่งท่องเที่ยวแบบ Local Experiences ให้ชุมชน
บ้านบางหมาก เป็นหมู่บ้านเล็ก ๆ อยู่ห่างจากตัวเมืองจังหวัดชุมพรเพียง 3 กิโลเมตร เเต่รายล้อมด้วยธรรมชาติซึ่งเเทบไม่มีเค้าของชุมชนเมืองให้เราเห็นเลยสักนิด เงาต้นปาล์มเรียงรายเป็นแถวยาวตลอดเเนวสวน กิ่งมะพร้าวโบกปลิวตามแรงลมพัดเป็นระยะ บ้านแต่ละหลังตั้งอยู่ห่างกันอย่างสันโดษ ทำให้หมู่บ้านแห่งนี้ดูคล้ายกับซุกตัวอยู่อย่างเงียบ ๆ ภายใต้สวนบรรยากาศเขียวครึ้มขนาดใหญ่ ตัดผ่านด้วยถนนคอนกรีตเล็ก ๆ สองข้างทางเราจะได้ยินเสียงร้องของลิงกังสอดเเทรกสลับกับเสียงรถยนต์เป็นระยะ บรรยากาศโดยรวมของชุมชนบ้านบางหมากจึงยังคงความเรียบง่ายเเละเนิบช้า เป็นเสน่ห์ให้คนเมืองหลวงโหยหา เเละอยาก(กลับ)มาสัมผัส เช่นเดียวกับ คุณคม ศรีราช อดีตวิศวกรหนุ่มจากเมืองกรุงฯ ที่ย้อนกลับมายังที่นี่อีกครั้งในวัยสามสิบต้น ๆ ซึ่งกำลังก้าวหน้าในหน้าที่การงานที่ร่ำเรียนมา ด้วยใจที่มองเห็นว่าบ้านเกิดของเขานั้นมีเสน่ห์ไม่ต่างจากถิ่นฐานอื่นที่เคยไปพบเห็นเเละท่องเที่ยว ไม่ใช่เรื่องเเปลกหากเราจะชื่นชมวัฒนธรรมเเละธรรมชาติในดินเเดนอื่น เเต่จะมีสักกี่คนที่มองย้อนกลับมามองบ้านเกิดของตนเอง เเล้วพัฒนาให้ที่นั่นเกิดความพิเศษ เชื้อเชิญให้ผู้คนจากต่างถิ่นอยากเข้ามาสัมผัส เเละเก็บเกี่ยวประสบการณ์ที่น่าประทับใจกลับไปดูบ้าง ดังนั้นเมื่อตั้งใจ “กลับบ้าน” ภารกิจแรกของวิศวกรหนุ่มผู้นี้ คือการเปลี่ยนสวนมะพร้าวบนที่ดินของครอบครัวให้เป็นที่พักของนักท่องเที่ยว โดยมีจุดขายคือวิถีชีวิตเกษตรกรรมของคนในชุมชนบางหมาก พร้อมกับคำนิยามสั้น ๆ ที่ทุกคนจะได้รับคือ “Local Experiences” เรียกว่าใครที่มาเยือนจะต้องได้รับประสบการณ์ที่แตกต่างกลับไป และทั้งหมดเป็นต้นกำเนิดของ วิลล่า วาริช รีสอร์ทเล็ก ๆ แห่งนี้ “ตอนที่บอกครอบครัวว่าจะทำโรงแรมเล็ก ๆ และทำที่นี่ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว ครอบครัวก็คัดค้านครับ ไม่มีใครเชื่อว่าเราจะทำได้ มองไม่ออกว่าจะไปทิศทางไหน แต่ผมก็ยืนยันที่จะทำ เพราะมองเห็นว่าทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชนนั้นเป็นจุดขายที่ไม่เหมือนที่อื่น […]
Read Moreพานิช ชูสิทธิ์ กับไร่กาแฟออร์แกนิกที่ไม่มีชื่อ แต่เป็นที่รู้จักทั่วชุมพร
ระยะทาง 67 กิโลเมตร จากตัวอำเภอฯ เมือง จังหวัดชุมพร สู่จุดหมายคือ บ้านธรรมเจริญ ในอำเภอท่าแซะ ไม่อาจทำให้ใจเต้นรัว แรง และเร็วคล้ายไม่เป็นจังหวะ ได้เท่ากับระยะทางอีก 10 กิโลเมตร จากเขตชุมชน ไปยัง “ไร่กาแฟ ที่ไม่มีชื่อ” ซึ่งตั้งอยู่บนเนินเขาอันเป็นป่าต้นน้ำของแม่น้ำท่าตะเภา ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากด่านทัพต้นไทร (เนิน 491) พื้นที่รอยต่อระหว่างพรมแดนไทยและสหภาพเมียนมาร์ “ไร่กาแฟ ที่ไม่มีชื่อ” คืออีกหนึ่ง Hidden Place ของ จังหวัดชุมพร ที่คนต่างถิ่นไม่ค่อยมีใครได้ไปสัมผัสนัก เช่นเดียวกับคนในพื้นที่ที่ต่างปรารถนาอยากไปรู้จักไร่กาแฟแห่งนี้ด้วยตนเอง ทั้งจากชื่อเสียงเรียงนามของเจ้าของไร่ ซึ่งเป็นบุคคลกว้างขวางเเละเป็นผู้อยู่เบื้องหลังวงการกาแฟของจังหวัดชุมพร เเต่ด้วยระยะทางที่ไกล บวกกับถนนหนทางมีความยากลำบาก บนระดับความสูง 200 เมตร จากระดับน้ำทะเล ทำให้เราไม่รู้ด้วยซ้ำว่าการเดินทางที่ได้ลงแรงลงใจไปนั้นจะคุ้มค่าหรือไม่ แต่แค่เพียงคำว่า “ไร่กาแฟออร์แกนิก บนแปลงปลูกที่อยู่สูงที่สุดของจังหวัดชุมพร” ได้กลายเป็นแม่เหล็ก เปลี่ยนให้ถนนลูกรังที่เต็มไปด้วยหลุมบ่อที่ทั้งแคบเเละขรุขระ กับระยะทางอีกหลายกิโลเมตรที่แสนยาวนาน ไม่ได้ทำให้เราเกิดความวิตกกังวลเลยอย่างใด เพราะใจที่จดจ่อไปยังจุดหมายปลายทางนั้น ได้ช่วยให้เราลืมความเหน็ดเหนื่อยเป็นปลิดทิ้ง พานิช ชูสิทธิ์ คือเจ้าของไร่กาแฟที่ไม่มีชื่อแห่งนี้ เราเรียกเขาสั้น ๆ ว่าพี่พานิช เช่นเดียวกับที่คนในพื้นที่เรียกขาน […]
Read Moreมะลิวัลย์ ชัยบุตร กับการทำเกษตรเพื่อปลดหนี้ในวันที่ชีวิตติดลบ
ในชีวิตคนเราจะมีช่วงเวลาที่เลวร้าย ตกต่ำ หรือย่ำแย่ได้สักกี่ครั้ง สำหรับบางคนอาจจะเจอครั้งแล้วครั้งเล่า หรือเข็มนาฬิกาของบางคนอาจจะยังไม่พาไปถึงจุดนั้น แต่ที่แน่ๆ มันจะต้องมีบางช่วงบางจังหวะที่เราเผลอไปเหยียบกับดักของโชคร้ายจนอาจจะทำให้เกิดความพลิกผัน กลายเป็นเหตุการณ์ที่เปลี่ยนชีวิตไปเลย มะลิวัลย์ ชัยบุตร ก็เช่นเดียวกัน จากผู้หญิงคนหนึ่งที่เคยมีชีวิตครอบครัวที่สมบูรณ์ในกรุงเทพฯ มีหน้าที่การงานรุ่งโรจน์ บทบาททางสังคมในอาชีพโปรแกรมเมอร์ มีเงินเดือนรายได้ที่ส่งเสียเลี้ยงดูลูกๆ ได้เป็นอย่างดี แต่วันหนึ่งเมื่อเธอตื่นขึ้นมาพร้อมกับหนี้ก้อนโตกว่า 6 ล้านบาทและสามีที่เคยเป็นเสาหลักของครอบครัวทิ้งเธอไป ทุกอย่างได้พังทลายลงมา รวมทั้งตัวเธอด้วย หนี้ก้อนโตไม่อาจจะเทียบเท่ากับความเจ็บปวดแสนสาหัสที่สามีเธอฝากไว้ ร่างกายและจิตใจที่เหมือนคนไร้วิญญาณต้องพักฟื้นเยียวยาโดยจิตแพทย์อยู่นานถึง 6 เดือน ลูกชายและลูกสาววัยเรียนต้องรับหน้าที่รักษาบาดแผลทางใจของผู้เป็นแม่ ทั้งๆ ที่พวกเขาควรให้ความสำคัญกับการศึกษามากกว่ามาคอยดูแลผู้ป่วยอย่างเธอ “ตอนนั้นเราไม่เหลืออะไรเลย รู้สึกเป็นแม่ที่แย่ แต่ยังดีที่กลับบ้านถูก” ใบหน้าเปื้อนยิ้มของหญิงวัยห้าสิบปีฉายขึ้นหลังจากเล่ามาถึงช่วงเวลาที่ผ่านมรสุมชีวิตด่านแรก ก่อนเริ่มนับหนึ่งใหม่หลังจากฉุกคิดได้ว่าตนเองนั้นกำลังเป็นตัวถ่วงในชีวิตลูกๆ และเธอต้องกลับมาเป็นเสาหลักให้ครอบครัว ให้ลูกได้เรียนต่อ ชดใช้หนี้สินที่ติดตัวเธอมา 3 คนแม่ลูกจึงกลับมาสร้างชีวิตใหม่ที่บ้านบางหมาก จังหวัดชุมพร ในสวนมะพร้าวซึ่งเป็นที่ดินมรดกของครอบครัว “หลังจากกลับบ้านมา เราก็ไปไหนไม่ได้ เพราะเราทำอะไรไม่เป็นสักอย่าง ใช้ชีวิตอยู่กรุงเทพฯนานถึง 30 ปี ไม่มีความรู้เรื่องเกษตรหรือสวนมะพร้าวเลย ที่แรกที่ทำให้เรามีชีวิตแบบนี้คือเกษตรเมือง ตอนนั้นได้คุณสังคม ชูสุข ซึ่งเป็นเกษตรตำบลบางหมาก เข้ามาแนะนำให้ปลูกพืชเศรษฐกิจที่ชาวบ้านละแวกนี้ปลูกกัน อย่างปาล์ม ผักหวานบ้าน แต่ด้วยสภาพจิตใจเราที่ยังแย่อยู่ […]
Read Moreลุงมนู กาญจนะ เปลี่ยนความล้มเหลวของเกษตรเชิงเดี่ยวสู่การ ทำเกษตรผสมผสาน
ติดตามวิถีการดำเนินอาชีพเกษตรของ ลุงมนู กาญจนะ Smart Farmer ดีเด่นประจำปี 2559 ของจังหวัดแพร่ ซึ่งเป็นหนึ่งในเกษตรกรที่นำการ เกษตรผสมผสาน ...
Read More