คนไทยทานข้าวเป็นอาหารหลัก เช่นเดียวกับการทำปลูกข้าวที่กลายเป็นภาพจำของอาชีพเกษตรกร พันธุ์ข้าว ต่างๆ จึงมีกระจายตัวอยู่ทุกภาคของเมืองไทย แม้จะมีลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่แตกต่างแต่ข้าวแต่ละพันธุ์สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพภูมิประเทศ อากาศ ดิน ของแต่ละพื้นที่ได้เป็นอย่างดี
จึงไม่น่าแปลกใจที่เมืองไทยจะเป็นแหล่งกำเนิด พันธุ์ข้าว กว่า 20,000 ชนิด ซึ่งข้าว (Rice) เป็นพืชล้มลุกในวงศ์หญ้า(Gramineae) อยู่ในสกุล Oryza สายพันธุ์ข้าวในเมืองไทยคือ O.sativa เป็นสายพันธุ์ที่มีถิ่นกำเนิดในแถบทวีปเอเซีย
การจำแนกข้าวจากการเจริญเติบโตแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ข้าวไวแสง และข้าวไม่ไวแสง ข้าวที่ไวต่อช่วงแสง คือข้าวที่ออกดอกเฉพาะในเดือนที่ความยาวของกลางวันสั้นหรือเรียกว่า พืชวันสั้น เช่น พันธุ์ข้าวที่เป็นพันธุ์พื้นเมืองเป็นข้าวนาเมืองหรือข้าวขึ้นน้ำ จำเป็นต้องปลูกในฤดูนาปี เดือนที่มีกลางวันสั้น ได้แก่ เดือนกันยายน ตุลาคม พฤศจิกายน และเดือนธันวาคมที่มีกลางวันสั้นที่สุด
ส่วนข้าวที่ไม่ไวต่อช่วงแสง คือ ข้าวที่ไม่ขึ้นอยู่กับความยาวของกลางวัน ต้นข้าวจะออกดอกทันทีเมื่อเจริญเติบโตครบตามกำหนด จึงกล่าวได้ว่าพันธุ์ที่ไม่ไวต่อแสงสามารถปลูกทั้งปีแต่จะได้ผลผลิตมากในช่วงฤดูนาปรัง บางครั้งก็เรียกว่า ข้าวนาปรัง
ระยะการเจริญเติบโตของข้าวทั้งสองชนิด แบ่งได้ดังนี้
-ระยะการเติบโตทางลำต้น นับตั้งแต่วันตกกล้าจนถึงวันที่ต้นสูงเต็มที่
-ระยะการสร้างช่อดอก ใช้เวลาประมาณ 30 วัน ข้าวที่มีความไวต่อช่วงแสงเมื่อครบกำหนดแล้วจะไม่สร้างดอกจนกว่าจะได้แสงตามที่ต้องการ ส่วนข้าวที่ไม่ไวต่อแสงจะเริ่มสร้างดอกทันที
การปลูกข้าว จึงสัมพันธ์กับช่วงเดือน ฤดูกาล เรียกว่าเกี่ยวข้องกับธรรมชาติโดยตรง แต่อย่างที่บอกในตอนต้นว่าข้าวเป็นพืชที่ปรับตัวได้เก่ง ยิ่งหากเป็นพันธุ์ข้าวพื้นเมืองด้วยแล้วจะสามารถต้านทานโรคศัตรูพืชได้ดี และเติบโตโดยไม่ต้องพึ่งปุ๋ยเคมีได้
สวนผักคนเมือง : ปลูกเมือง ปลูกชีวิต ได้เล็งเห็นความสำคัญของข้าวไทย จึงได้เก็บรวบรวมข้าวไทยจากเกษตรกรในเครือข่ายทั่วประเทศ โดยจะจัดเทศกาลข้าวใหม่ทุกปีเพื่อเปิดให้คนเมืองได้ลิ้มรสกลิ่นหอมนุ่มของข้าวใหม่ที่ส่งตรงจากเกษตรกรโดยตรงเป็นประจำทุกปี และเก็บข้อมูลเมล็ดพันธุ์ข้าวเป็นธนาคารความรู้ให้ได้สืบค้นและเรียนรู้ต่อไปด้วย ทั้งนี้มีบางส่วนที่เราเก็บมาแนะนำกันในคราวนี้
ข้าวเหนียว ข้าวจ้าว แยกอย่างไร

ข้าวเหนียว เป็นข้าวสีขาว ขุ่นทึบ ส่วนข้าวเจ้า มีลักษณะสีใสกว่าจะไม่ขาวขุ่นเท่าข้าวเหนียว ซึ่งสามารถสังเกตได้ด้วยสีเป็นหลัก ส่วนวิธีการปลูกจะขึ้นอยู่กับแต่ละสายพันธุ์ แต่ละชนิด
ทั้งข้าวเหนียวและข้าวจ้าวมีส่วนประกอบสำคัญที่เป็นตัวบ่งชี้คือ “อมิโลส”
อมิโลส คือ แป้งชนิดหนึ่งที่มีอยู่ในเมล็ดข้าว ข้าวที่มีอมิโลสสูงจะสามารถดูดซึมน้ำได้มาก สังเกตได้ตอนหุง ข้าวที่มีอมิโลสสูงจะมีลักษณะแข็ง ส่วนข้าวที่มีอมิโลสน้อยเมล็ดข้าวจะขยายตัวไม่มาก ข้าวจะนุ่มเหนียว ซึ่งการจะมีอมิโลสมากหรือน้อย จะต้องใช้วิธีการทางเคมีเท่านั้น
ข้าวที่มีอมิโลสน้อยของไทย อยู่ที่ 10%-19% เช่น ข้าวขาวหอมมะลิ
ข้าวที่มีอมิโลสปานกลาง อยู่ที่ 20%-25% เช่น ข้าวพันธุ์กข 7
ข้าวที่มีอมิโลสสูงของไทย มากกว่า 25% เช่น ข้าวขาวเหลืองประทิว
ข้าวขาวเกยไชย

พื้นที่ปลูก : ตำบลเกยไชย อำเภอชุมแสง นครสวรรค์
ลักษณะเด่น : หุงขึ้นหม้อ มีเนื้อสัมผัสที่นุ่ม หนึบหนับ มีกลิ่นหอมนิ่ม
เหนียวน่าน 59

พื้นที่ปลูก : แถบภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือ เช่นจังหวัดน่าน
ลักษณะเด่น : ให้กลิ่นหอม ต้นเตี้ย ทนการหักล้ม ใช้รถเก็บเกี่ยวได้ และต้านทานโรคไหม้ และโรคขอบใบแห้ง
ข้าวหอมใบเตย

พื้นที่ปลูก : มหาสารคาม นครสวรรค์ แถบภาคเหนือ
ประโยชน์ : มีธาตุเหล็ก วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 และวิตามินอี
ลักษณะเด่น : มีกลิ่นหอมใบเตย เป็นข้าวหอมมะลิพันธุ์ไทยโบราณ
หอมปทุม

พื้นที่ปลูก : ปทุมธานี สงขลา สุพรรณบุรี
ประโยชน์ : ช่วยให้ลดระดับคอเลสเตอรอลในเส้นเลือด ช่วยบำรุงสมอง ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคอัลไซเมอร์ และโรคอัมพฤต
ช่อลุงสารแดง

พื้นที่ปลูก : สงขลา อุบลราชธานี ศรีสะเกษ
ลักษณะเด่น : ต้านทานแมลง คอรวงยาวเวลาเก็บจะง่าย ข้าวเมื่อหุงเสร็จจะหอม นิ่ม และหวาน
ข้าวเหลืองใหญ่ 148

พื้นที่ปลูก : ลำพูน
ประโยชน์ : มีโฟเลตสูง ช่วยลดความเสี่ยงไม่ทำให้เด็กในครรภ์เป็นโรคปากแหว่งเพดารโหว่และโรคอัลไซเมอร์
ลักษณะเด่น : ต้านทานโรคใบจุดสีน้ำตาลและโรคขอบใบแห้งปานกลาง
มะลิแดง

พื้นที่ปลูก : ตรัง สุพรรณบุรี ฉะเชิงเทรา สุรินทร์
ประโยชน์ : อุดมไปด้วยสารอาหาร ธาตุเหล็ก เบต้าาแคโรทีน วิตามินอี ลูทีน วิตามินบี1 วิตามินบี2 และทองแดง
ลักษณะเด่น : เก็บเกี่ยวปลายเดือนพฤศจิกายน
ทับทิมชุมแพ

พื้นที่ปลูก : สกลนคร
ประโยชน์ : มีสารต้านอนุมูลอิสระมีส่วนช่วยลดระดับคลอเลสเตอรอลในกระแสเลือด
ลักษณะเด่น : เรียกอีกชื่อว่า “ข้าวพันธุ์กข 69” มีปริมาณอมิโลสต่ํา เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน
ข้าวก่ำน้อย(ซ้อมมือ)

พื้นที่ปลูก : แถบอีสาน
ประโยชน์ : มีสารต้านอนุมูลอิสระ ลูทีนและซีแซนทีน ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งชนิดต่างๆ
เหนียวก่ำหอมภูเขียว

พื้นที่ปลูก : สกลนคร
ประโยชน์ : มีสารแอนโทไซยานิน ช่วยบำรุงสมอง บำรุงเลือด
ลักษณะเด่น : นิยมนำไปทำขนมและปลูกเป็นพืชร่วมระบบกับพืชอื่นเพราะสามารถต้านทานโรคไหม้ได้ดี
ไรซ์เบอร์รี

พื้นที่ปลูก : สุรินทร์ ราชบุรี ปทุมธานี
ประโยชน์ : มีสารต้านอนุมูลอิสระ และอุดมไปด้วยสารอาหาร เบต้าแคโรทีน วิตามินอี วิตามินบี 1 ลูทีน สังกะสี โอเมก้า 3 และธาตุเหล็ก ช่วยชะลอวัยความแก่
ลักษณะเด่น : ปลูกได้ตลอดทั้งปี มีอายุเก็บเกี่ยว 130 วัน
หอมนิล

พื้นที่ปลูก : สกลนคร ศรีสะเกษ
ประโยชน์ : อุดมไปด้วยสารอาหาร โปรตีน คาร์โบไฮเดรต วิตามินอี วิตามินบี แคลเซียล ธาตุเหล็ก สารต้านอนุมูลอิสระ และใยอาหาร จึงช่วยบำรุงเส้นผม สายตา และสมอง
ลักษณะเด่น : มีอายุการเก็บเกี่ยวสั้นประมาณ 95 วันทำให้สามารถปลูกได้มากถึง 3 ครั้งต่อปี ปริมาณในการผลิตจึงมีเยอะ
เรียบเรียงและสืบค้นข้อมูลโดยนักศึกษาฝึกงานจาก วิทยาลัยนวัตกรรม สาขาการจัดการมรดกวัฒนธรรมและอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ มหาวิทยาธรรมศาสตร์ โดย
ธนพนธ์ หัสกรรัตน์
ภิญญดา ยืนยงสวัสดิ์
กัญฐิสา หาญณรงค์
ภาพ : ฤทธิรงค์ จันทองสุข
รู้ลึกเรื่อง ข้าวสรรพสี (Rainbow Rice) ปลูกเพื่อกินใบ ใช้ประดับสวน