ใส่ปุ๋ยพืชไร่ ใส่ปุ๋ยข้าวโพด ใส่อย่างไรให้ลดต้นทุน ! การเพาะปลูกพืชเพื่อให้ได้ผลผลิตที่ดีและมีคุณภาพนั้น ปฏิเสธไม่ได้ว่า “ปุ๋ย” เป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างยิ่ง
การ ใส่ปุ๋ยพืชไร่ โดยเฉพาะปุ๋ยเคมีซึ่งมีความจำเป็นต่อการผลิตพืชเชิงการค้าอย่างพืชไร่ ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญของไทย ไม่ว่าจะเป็นข้าว ข้าวโพด อ้อย มันสำปะหลัง ถั่วเขียว ถั่วเหลือง ทานตะวัน รวมถึงยาสูบ
ปุ๋ยเคมีมีส่วนผสมธาตุอาหารหลักของพืช ได้แก่ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส หรือโพแทสเซียม ในรูปและปริมาณที่พืชต้องการ เป็นปุ๋ยที่ได้จากธรรมชาติและผลิตจากอนินทรียสารหรืออินทรีย์สังเคราะห์ต่าง ๆ ซึ่งเมื่อใส่ลงไปในดินที่มีความชื้นเหมาะสม ปุ๋ยเคมีจะละลายให้พืชดูดไปใช้ประโยชน์ได้อย่างรวดเร็ว ในปัจจุบันมีปุ๋ยเคมีหลายประเภทให้เลือกใช้ ได้แก่ ปุ๋ยเชิงเดี่ยว ปุ๋ยเชิงประกอบ และปุ๋ยเชิงผสม เป็นต้น
เทคนิคใช้ปุ๋ยเคมีในพืชไร่อย่างมีประสิทธิภาพ
การใช้ปุ๋ยเคมีในพืชไร่ให้มีประสิทธิภาพนั้นไม่แตกต่างจากหลักการใช้ปุ๋ยเคมีในพืชชนิดอื่น นั่นคือ ใช้แนวทาง 4 ถูก ได้แก่ ถูกสูตร ถูกอัตรา ถูกเวลา และถูกวิธี ดังนี้
- ถูกสูตร การเลือกใช้ปุ๋ยเคมีสูตรต่าง ๆ ต้องพิจารณาความต้องการธาตุอาหารของพืชแต่ละชนิด รวมถึงรูปของธาตุอาหารในปุ๋ยและปริมาณของธาตุอาหารพืช เพื่อที่จะทราบสูตรปุ๋ยที่เหมาะสมต่อความต้องการของพืชนั้น ๆ การเลือกใช้ปุ๋ยเคมีที่มีสัดส่วนของธาตุที่เหมาะสม จะเป็นการช่วยปรับระดับความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหารพืช และเกิดประสิทธิภาพในการใช้ปุ๋ยฃ
- ถูกอัตรา การใช้ปุ๋ยในปริมาณที่พอเหมาะกับความต้องการของพืชที่ปลูก พอเหมาะในแง่ของปริมาณที่พืชควรจะได้รับเพื่อให้ได้ผลิตผลสูง ถ้าน้อยกว่านั้นจะทำให้พืชไม่เจริญเติบโตและให้ผลผลิตต่ำ หรือถ้าให้มากเกินกว่านั้นก็อาจมีการตกค้างหรือเป็นพิษแก่พืชได้ แถมยังเป็นการเพิ่มต้นทุนการผลิต
- ถูกเวลา การใส่ปุ๋ยในระยะเวลาที่เหมาะสมกับความต้องการของพืช จะช่วยให้มีการใช้ปุ๋ยอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เนื่องจากพืชมีความต้องการธาตุอาหารแตกต่างกันในแต่ละระยะการเจริญเติบโต โดยทั่วไปแบ่งได้ 3 ระยะคือ ระยะแรกของการเจริญเติบโต ระยะการเจริญเติบโตทางลำต้น และระยะเจริญเติบโตด้านผลผลิต
- ถูกวิธี การเลือกใช้วิธีใส่ปุ๋ยตรงตำแหน่งหรือบริเวณที่พืชนำธาตุอาหารไปใช้ประโยชน์ได้ง่ายและเร็วที่สุด เนื่องจากปุ๋ยเคมีที่ใส่ลงในดินจะเกิดปฏิกิริยาทางเคมี เพื่อละลายและปลดปล่อยธาตุอาหารพืชออกมาในรูปต่าง ๆ และมีการเคลื่อนย้ายธาตุอาหารจากปุ๋ยเคมีในดินแตกต่างกัน ปุ๋ยเคมีจะมีประสิทธิภาพมากที่สุดก็ต่อเมื่อพืชสามารถนำธาตุอาหารไปใช้ได้ ดังนั้นจึงควรพิจารณาตำแหน่งการใส่ปุ๋ยประกอบด้วย
วิธีการให้ปุ๋ยเคมีกับพืชไร่
พืชไร่ส่วนใหญ่เป็นพืชอายุสั้นที่สามารถเจริญเติบโตได้ในดินหลายประเภท เช่น ดินเหนียว ดินร่วนปนทราย ดินร่วน เป็นต้น ทั้งยังมีระบบการปลูกหรือการเขตกรรมแตกต่างกัน ตัวอย่างนาข้าว มีทั้งนาข้าวปักดำและนาข้าวหว่านน้ำตม ดังนั้นจึงมีวิธีการให้ปุ๋ย สูตรปุ๋ย และอัตราการใส่ปุ๋ยที่แตกต่างกัน สำหรับการให้ปุ๋ยเคมีที่เหมาะสมกับพืชไร่ ได้แก่
ปุ๋ยรองพื้น เป็นการใส่ปุ๋ยในระยะก่อนปลูกหรือขณะเตรียมดิน
ปุ๋ยแต่งหน้า ทำได้หลายวิธี ควรเลือกให้เหมาะกับลักษณะของพืชที่ปลูก ดังนี้
- การใส่ปุ๋ยโรยเป็นแถวแคบ เหมาะกับพืชที่ปลูกเป็นแถว โดยโรยปุ๋ยเป็นแถบข้างแถวพืชข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้างก็ได้ หากเป็นการใส่ปุ๋ยพร้อมกับการหยอดเมล็ดพืชจะต้องระวังไม่ให้แนวปุ๋ยอยู่ใกล้เมล็ดเกินไป เพราะความเค็มของปุ๋ยอาจทำลายการงอกของเมล็ดได้
- การใส่ปุ๋ยโรยเป็นแถวกว้าง เป็นการให้ปุ๋ยโดยขยายแถบปุ๋ยให้กว้างขึ้นในระหว่างแถวพืช วิธีนี้พืชจะได้รับปุ๋ยเป็นบริเวณกว้างมากขึ้น ทั้งยังเป็นการเพิ่มความเข้มข้นของธาตุอาหารจากปุ๋ยสูงกว่าการหว่านทั่วทั้งแปลง แต่เข้มข้นน้อยกว่าการใส่ปุ๋ยแบบโรยเป็นแถวแคบ จึงช่วยให้เกิดการกระจายของปุ๋ยและลดการตรึงปุ๋ยของดินได้การหว่านทั่วทั้งแปลง วิธีนี้ช่วยให้ปุ๋ยกระจายสม่ำเสมอทั่วพื้นที่ นิยมทำก่อนปลูกพืช เมื่อหว่านปุ๋ยเสร็จแล้วอาจพรวนดินกลบหรือไม่ก็ได้
- การหว่านทั่วทั้งแปลง วิธีนี้ช่วยให้ปุ๋ยกระจายสม่ำเสมอทั่วพื้นที่ นิยมทำก่อนปลูกพืช เมื่อหว่านปุ๋ยเสร็จแล้วอาจพรวนดินกลบหรือไม่ก็ได้
เกร็ดน่ารู้ ระบบการปลูกพืชหรือการเขตกรรมมีหลายรูปแบบตามความเหมาะสมของชนิดพืช พันธุ์พืช และสภาพภูมิประเทศ ได้แก่ การปลูกพืชเป็นแถว การปลูกแบบหว่าน และการปลูกพืชเป็นหลุม ดังนั้นการใช้ปุ๋ยอย่างมีประสิทธิภาพจึงควรเลือกวิธีใส่ปุ๋ยรองพื้นและการใส่ปุ๋ยแต่งหน้าให้เหมาะสมกับระบบการปลูกพืชและลักษณะของพืชที่ปลูก
ตัวอย่างการ ใส่ปุ๋ยพืชไร่ อย่างมีประสิทธิภาพ
จากตัวอย่างข้างต้นจะเห็นได้ว่า การปรับปรุงความอุดมสมบูรณ์ของดินนั้นควรใช้ปุ๋ยตามความต้องการของพืชและคำนึงถึงคุณสมบัติของดิน เมื่อเลือกใช้ปุ๋ยเคมีที่มีสูตรและอัตราที่เหมาะสม ไม่เพียงช่วยเพิ่มผลตอบแทนทางผลผลิตและคุณภาพเท่านั้น แต่ยังช่วยลดต้นทุนด้านการใช้ปุ๋ย ไม่ก่อให้เกิดปัญหาดินเสื่อมโทรมและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการใช้ปุ๋ยเคมีมากเกินไป ซึ่งถือเป็นการใช้ปุ๋ยเคมีอย่างมีประสิทธิภาพ