สวนผลไม้เมืองจันท์
กลางเดือนพฤษภาคม – กรกฎาคมของทุกปีถือเป็นช่วงที่ชาวสวนผลไม้ในจังหวัดจันทบุรีจะนำผลผลิตทางการเกษตรของตนมาวางจำหน่ายในราคาที่ไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง
บางสวนก็ถือโอกาสเปิดบ้านต้อนรับนักท่องเที่ยวให้เข้าไปสัมผัสบรรยากาศและเรียนรู้ต้นไม้ในวิถีชาว สวนผลไม้เมืองจันท์ ขนานแท้ พร้อมกันนี้คุณยังจะได้รับประทานผลไม้เกรดเอในราคาย่อมเยาแนะนำเลยว่าคุณผู้อ่านต้องหาโอกาสไปให้ได้สักครั้งในชีวิตฝ่าวิกฤติความวุ่นวายของสังคมเมืองมาพักกายพักใจแล้วคุณจะรู้ว่าเที่ยวสวนหน้าฝนในบ้านเรานั้นมีความสุขแค่ไหน ผลไม้เมืองจันท์
ผมขออาสาพาคุณไปชมวิถีชาวสวนและชิมผลไม้แสนอร่อยกันครับและเพื่อการรับชมภาพกันอย่างเต็มอิ่มผมขอแบ่งเป็น 5 สวน 5 ตอนพร้อมแล้วเราไปบุกสวนกันเถอะ
ณรงค์ฟาร์ม ถือเป็นสวนน้องใหม่ที่เพิ่งเปิดให้ท่องเที่ยวในรูปแบบเชิงเกษตรเป็นปีแรกแต่ไม่ได้เปิดให้ชิมผลไม้แบบบุฟเฟ่ต์นะครับผู้ใหญ่ณรงค์ศุภผลเจ้าของฟาร์มเคยเป็นเจ้าหน้าที่ที่คอยคัดเลือกผลไม้ส่งออกไปต่างประเทศจึงทำให้ฟาร์มแห่งนี้มีแต่ผลไม้คัดคุณภาพเกรดเอแต่ด้วยขนาดพื้นที่เพียง 6 ไร่ทำให้มีผลผลิตน้อยกว่าสวนอื่นๆในละแวกนี้สวนจึงปิดเร็วกว่าที่อื่นประมาณสิ้นเดือนพฤษภาคมก็จะปิดสวนแล้วเพื่อบำรุงพันธุ์สำหรับการเก็บเกี่ยวในรอบหน้าต่อไป
ข้อดีของณรงค์ฟาร์มคือเป็นสวนชาวบ้านขนาดเล็กเดินได้เพลินๆไม่เหนื่อยมากอีกทั้งเจ้าของฟาร์มก็ใจดีเหลือเกินผู้ใหญ่ณรงค์มักมาสอนวิธีเลือกมังคุดและทุเรียนคุณภาพดีผมเองรู้สึกว่าเวลาที่อยู่ในสวนผ่านไปเร็วมาก
ขอบอกเลยว่าทุเรียนของสวนนี้รสชาติไม่เป็นรองใครจริงๆแต่ต้องรีบมานะครับสอบถามเส้นทางมาณรงค์ฟาร์มได้โดยตรงที่หมายเลขโทรศัพท์ 06-2598 – 9962 , 08-8916 – 2619
สำหรับการเดินทางถ้าใช้เส้นทางถนนสุขุมวิทก่อนถึงอำเภอขลุงเลี้ยวขวาเข้าวัดตะปอนใหญ่ขับรถไปจนถึงตะปอนใหญ่ซอย 6 แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าไปเลยบ้านของผู้ใหญ่ณรงค์อยู่ขวามือ
โปรดติดตามตอนที่ 2 ต่อนะครับรับรองว่ามีสวนผลไม้เด็ดๆรอคุณอยู่ครับอีกไม่นานเกินรอ
ขอขอบคุณ
ผู้ใหญ่ณรงค์ ศุภผล (ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 2 ตำบลเกวียนหัก)
เรื่อง ไตรรัตน์ ทรงเผ่า
ภาพ ธนกิตต์ คำอ่อน
เที่ยวสวนหน้าฝนชิมผลไม้เมืองจันท์ ตอนที่ 2 : สวนสาวสุดใจ >>
เที่ยวสวนหน้าฝนชิมผลไม้เมืองจันท์ ตอนที่ 3 : เคพีการ์เด้น >>
เที่ยวสวนหน้าฝนชิมผลไม้เมืองจันท์ ตอนที่ 4 : สวนสละเฮียถึก >>
เที่ยวสวนหน้าฝนชิมผลไม้เมืองจันท์ ตอนที่ 5 : สวนรินลดี >>
l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l