© COPYRIGHT 2025 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.
ปลูกผักต่างประเทศหรือผักนอก ทั้ง ปลูกผักในกระถาง ปลูกลงแปลง ให้ประสบความสำเร็จ มีเทคนิคไม่ต่างจากการปลูกผักสวนครัวที่เราคุ้นเคยกันอยู่แล้ว
ไม้เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เป็นเทคนิคการขยายพันธุ์พืชโดยนำชิ้นส่วนของพืช มาเพาะเลี้ยงบนอาหารสังเคราะห์ เพื่อเพิ่มจำนวนต้นพันธุ์ได้ทีละมากๆ
ทำเกษตรแบบไหนถึงจะขึ้นทะเบียนเกษตรกร ได้?? ไปทำความรู้จักหลากหลายการประกอบการเกษตรที่ กรมส่งเสริมการเกษตร ระบุไว้
ผู้ที่สนใจอยากจะ เลี้ยงไก่ อาจมีข้อสงสัยมากมายในทุกปัญหาของการเลี้ยงไก่ เราจึงรวบรวม 10 คำถามยอดฮิต พร้อมตอบทุกข้อสงสัยในการเลี้ยงไก่
นี่คือ “ บ้านสวนเกษตรผสมผสาน สำเร็จรูป” ในจังหวัดนครนายก หมู่บ้านเกษตรจัดสรรแห่งแรกและแห่งเดียวในเมืองไทย (ในตอนนี้)
หากถามว่า “ใครเคยรับประทานรากถั่วพูต้มให้ยกมือขึ้น” คงจะมีคนยกมือไม่มากนัก เพราะ “ถั่วพู” ที่หลายคนรู้จัก คือ ถั่วฝักสดที่นำมารับประทานคู่กับน้ำพริก หรือนำฝักมาผ่านความร้อน ปรุงเป็นเมนูอาหารรสเลิศ เช่น ยำถั่วพูกุ้งสด ผัดพริกแกงหมูใส่ถั่วพู แต่วันนี้จะพาทุกท่านไปทำความรู้จักกับ ถั่วพูกินราก ที่หลายคนอาจไม่เคยรู้มาก่อนว่า “สามารถนำรากมารับประทานได้ด้วย!!” ถั่วพูกินราก ที่กล่าวถึงนี้ เป็นหนึ่งในพืชท้องถิ่นของชุมชนอำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี มีการปลูกสืบทอดกันมาเป็นเวลากว่า 60 ปีแล้ว ในอดีตคนในชุมชนนิยมกินรากถั่วพูเพราะเชื่อว่าเป็นสมุนไพรที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย บวกกับความเหนียวนุ่มและกลิ่นหอมเฉพาะของรากที่ต้มเสร็จก็ชวนรับประทาน จึงมีการปลูกสืบทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่นจนถึงทุกวันนี้ กระทั่งมีการรวมกลุ่มผู้ปลูกถั่วพูกินรากแปลงใหญ่ ซึ่งอยู่ระหว่างการดำเนินการจัดทำมาตรฐานเกษตรดีที่เหมาะสม (GAP) โดยมีสำนักงานเกษตรอำเภอโพธารามเป็นพี่เลี้ยง คาดว่าจะได้รับการรับรองมาตรฐาน GAP เร็ว ๆ นี้ การปลูก ถั่วพูกินราก ถั่วพูกินราก จัดเป็นถั่วพูพันธุ์หนัก ซึ่งเป็นพันธุ์เฉพาะที่สามารถบริโภครากได้ (ไม่ใช่ถั่วพูที่ปลูกรับประทานฝักทั่วไป) โดยเกษตรกรจะเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ใช้เอง และเตรียมแปลงก่อนปลูกโดยหว่านเมล็ดปอเทืองเพื่อบำรุงดินให้ร่วนซุย ระบายน้ำดี และเป็นการเพิ่มธาตุอาหารในดินในรูปแบบปุ๋ยพืชสด เกษตรกรนิยมหยอดเมล็ดลงแปลงปลูกในช่วงเดือนกรกฎาคม เนื่องจากเป็นช่วงต้นฤดูฝน ทำให้ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายเรื่องการให้น้ำได้พอสมควร แปลงปลูกยกร่องสูง 20 – 30 เซนติเมตร ใช้ระยะปลูก […]
แจกแบบ เล้าไก่เคลื่อนที่ สำหรับบ้านในเมืองที่มีพื้นที่จำกัดก็เลี้ยงไก่ไว้เก็บไข่ได้ ออกแบบให้มีขนาดพอดีกับไก่ 2 ตัว
ไม้ดอกหอมนอกจากรูปทรงและสีสันที่สวยงามแล้ว คงหนีไม่พ้นกลิ่นหอมที่แตกต่างกัน พันธุ์ไม้ดอกหอมจึงเป็นเสน่ห์ในตัวที่ทำให้ใครหลายคนก็ตกหลุมรัก
แนวทางการปลูกผักกินยอด พร้อมเทคนิคการปลูกและการจัดการแปลงปลูกให้เก็บเกี่ยวง่าย สร้างรายได้งาม จากเกษตรกรใน ต.กระบี่น้อย อ.เมืองฯ จ.กระบี่
อยากทำอาชีพเกษตร มีข้อคิดอะไรบ้างเพื่อให้สามารถเริ่มต้นได้อย่างราบรื่นและไม่เกินกำลังตัวเอง โดยเฉพาะผู้ที่กำลังเริ่มต้นมีข้อควรรู้ดังนี้
รวมผักปลูกง่าย ผักสามัญประจำสวน สำหรับ ปลูกผักกินเอง ปลูกง่ายและได้ประโยชน์สารพัด ปลูกในกระถางก็ทำได้ เพียงแต่ต้องรู้และศึกษาให้เข้าใจ
สวนดอกไม้กินได้ ในมุมหลังบ้าน ที่เปลี่ยนจากสวนครัวทั่วๆ ไป เป็นดอกไม้สีสันสวยงาม ทั้งยังใช้ประโยชน์ในการตกแต่งอาหาร
การสร้างโรงเรือนปลูกผัก ในปัจจุบันมีวัตถุประสงค์เพื่อดูแลต้นกล้า กิ่งตอน กิ่งชำ ปลูกผัก ไม้ดอกไม้ประดับต่าง ๆ ที่ต้องการดูแลเป็นพิเศษ
หลากหลายไอเดียการทำ แปลงปลูกผักสวนครัว จากหลายวัสดุที่มีทั้งข้อดี และข้อจำกัด รวมทั้งราคา งบประมาณในการทำแต่ละแบบ
อีกหนึ่งตัวอย่างของการทำเกษตรในเมืองที่เมื่อมองจากภายนอก แทบไม่น่าเชื่อว่าอาคารพาณิชย์หลังหนึ่งในซอยเพชรเกษม 48 คือที่ตั้งของ ฟาร์มเห็ด แต่เมื่อได้เข้าไปเยือนจะพบว่า คุณนัท – กิตติพงศ์ กีรติเตชะนันท์ หรือ Mushroom Man ผู้เขียนหนังสือ My Little Farm Vol.10 ปลูกเห็ดแบบคนเมือง ฟาร์มเห็ด แห่งนี้ได้ปรับห้องว่างด้านบนอาคารให้เป็นห้องปลูกเห็ดมิลกี้ (Milky Mushroom) หรือเห็ดหิมาลัย ส่วนด้านล่างมีครัวเล็ก ๆ สำหรับเสิร์ฟอาหารที่ปรุงสุกใหม่จากวัตถุดิบที่ดี ในชื่อว่า “ครัวเล็ก ๆ ของมัชรูมแมน” แม้มีพื้นที่น้อยแต่ความน่าสนใจด้านวิธีคิดและการลงมือทำของเขาไม่น้อยตามพื้นที่เลย เมื่อกล่าวถึงอาหารเพื่อสุขภาพ เชื่อว่าต้องมี “เห็ด” อยู่ในรายชื่อนั้นอย่างแน่นอน เนื่องจากเห็ดจัดเป็นอาหารกลุ่มพืชผักที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง โดยเฉพาะมีโปรตีน วิตามิน และเส้นใยอาหารมาก ทั้งยังมีไขมันต่ำ เหมาะกับคนทุกเพศทุกวัย จึงไม่แปลกที่หลายคนหันมาสนใจรับประทานเห็ดกันมากขึ้น นอกจากความสนใจบริโภคแล้วยังขยับมาลงมือปลูกเห็ดด้วยตัวเอง ทั้งเพื่อบริโภคในครอบครัวและต่อยอดเป็นอาชีพเสริม ทำความรู้จักเห็ดมิลกี้ เห็ดมิลกี้หรือเห็ดหิมาลัย มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Calocybe indica มีถิ่นกำเนิดทางตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย ปัจจุบันนอกจากพบมากในตลาดท้องถิ่นอินเดีย ยังพบในจีน มาเลเซีย สิงคโปร์ […]
เยี่ยมฟาร์มโกติ๊ก ฟาร์มผักที่ปลูกผักสลัดไฮโดรโปนิกส์ สู้วิกฤติในยุคนี้ ที่จังหวัดภูเก็ต พร้อมกับปลูกเห็ด สร้างรายได้
ไอเดียการออกแบบแปลงผักยกสูง การใช้งานแบบง่าย ๆ จาก ตาวีฟาร์ม เขาใหญ่ ที่ปลูกผักและเลี้ยงไก่ไปพร้อมๆ กัน ช่วยให้ทำงานง่ายไม่ต้องก้ม
จุดเด่นของ บอนโคโลคาเซีย หลายคนสงสัยว่า ต้นไหนเป็นโคโลคาเซียต้นไหนเป็นอะโลคาเซีย สังเกตได้จากแผ่นใบ สะดือใบ และช่อดอก