© COPYRIGHT 2025 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.
ไปชมฟาร์มไก่ไข่อารมณ์ดี by น้องมด สาวน้อยดาว tiktok ผู้หลงใหลการเลี้ยงไก่ไข่ ทำเกษตร ซึ่งเธอทำเป็นอาชีพเสริม
ชม แปลงปลูกดอกไม้ หลากหลายชนิดที่ whispering cafe คุณวิทย์ ศิริวิทย์ ริ้วบำรุง ใช้เป็นแปลงทดลองปลูกพรรณไม้
หลายคนคงอยากลอง ขยายพันธุ์ไม้ดอกหอม ต้นโปรดไว้แจกเพื่อนบ้านกันบ้าง มาเรียนรู้เทคนิคดีๆ กับ คุณรัศมี ทองวัง หรือแม่หนู แห่ง รังสวนศิลป์ กันค่ะ
มีตัวอย่าง ทำแปลงผัก จากวัสดุแผ่นไม้เก่ามาฝากกัน เป็นแปลงในพื้นที่รวม 3 ตารางเมตร ซึ่งนอกจากจะได้ผักไว้บริโภคแล้ว ยังใช้กั้นขอบเขตได้อีกด้วย
ปลูกผักในกะละมัง อีกหนึ่งไอเดียปลูกผักในพื้นที่จำกัด จาก คุณออ - อรทัย ยางไธสง แห่ง Wakeup Vegetables ที่นำกะละมังมาใช้แทนภาชนะปลูกผักสวนครัว
โรงเรือนแคคตัส มีส่วนสำคัญเป็นอย่างมาก เพื่อควบคุมสภาพแวดล้อมให้เหมาะกับต้นไม้มากที่สุด เพื่อให้ต้นไม้ที่ปลูกเจริญเติบโตสวยงามแบบที่ต้องการ
องุ่น เป็นผลไม้รับประทานสดที่ได้รับความนิยมในบ้านเรา มีให้เลือกทั้ง พันธุ์องุ่นผลสีเหลืองอมเขียว สีม่วงแดง และสีม่วงดำ มีเมล็ดและไร้เมล็ด
ฟาร์มเล็กเล็ก สวนผักในเมืองของ ลุงเช็ค ฅนค้นคน ที่หันมา ปลูกผัก เพื่อสร้างแหล่งอาหารที่ปลอดภัย ใจกลางกรุงเทพ
เรื่องต้องรู้ก่อน ปลูกกัญชา พืชที่ถูกปลดล็อคออกจากการเป็นยาเสพติดให้โทษ เพื่อใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ ปลูกได้ในครัวเรือน
ปลูกดอกไม้ไทยกินได้ ที่ฟาร์มสุข ดอกไม้ไทยกินได้ ทำเกษตรรูปแบบใหม่อย่างไรให้สร้างรายได้ทุกวัน สิ่งนั้นคืออะไร ไปหาคำตอบพร้อม ๆ กัน
ปลูกผักต่างประเทศหรือผักนอก ทั้ง ปลูกผักในกระถาง ปลูกลงแปลง ให้ประสบความสำเร็จ มีเทคนิคไม่ต่างจากการปลูกผักสวนครัวที่เราคุ้นเคยกันอยู่แล้ว
ปลูกผักงอก และไมโครกรีน ทางเลือกหนึ่งของผู้มีพื้นที่จำกัด นอกจากได้ผักสดเปี่ยมคุณค่า ยังประหยัดพื้นที่ ปลูกได้ในแสงรำไร ไม่กี่วันก็ตัดกินได้
ไม้เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เป็นเทคนิคการขยายพันธุ์พืชโดยนำชิ้นส่วนของพืช มาเพาะเลี้ยงบนอาหารสังเคราะห์ เพื่อเพิ่มจำนวนต้นพันธุ์ได้ทีละมากๆ
ทำเกษตรแบบไหนถึงจะขึ้นทะเบียนเกษตรกร ได้?? ไปทำความรู้จักหลากหลายการประกอบการเกษตรที่ กรมส่งเสริมการเกษตร ระบุไว้
ผู้ที่สนใจอยากจะ เลี้ยงไก่ อาจมีข้อสงสัยมากมายในทุกปัญหาของการเลี้ยงไก่ เราจึงรวบรวม 10 คำถามยอดฮิต พร้อมตอบทุกข้อสงสัยในการเลี้ยงไก่
นี่คือ “ บ้านสวนเกษตรผสมผสาน สำเร็จรูป” ในจังหวัดนครนายก หมู่บ้านเกษตรจัดสรรแห่งแรกและแห่งเดียวในเมืองไทย (ในตอนนี้)
คุณเอ๋ –พรทิพย์ เทียนทรัพย์ เจ้าของภูมิใจการ์เดนท์และ Natura Café ชวนเรามาลุยสวนทำเมี่ยง ตะลิงปลิง เก็บผลผลิตสดๆ จากต้นมาทำอาหารสืบสานวิถีชาวสวนที่มักปลูกสิ่งที่กินและกินสิ่งที่ปลูก ซึ่งต้นไม้หลายๆ ชนิดที่เห็นอยู่ในสวนนั้น คุณเอ๋เล่าว่าหลายต้นปลูกมาตั้งแต่ครั้งบรรพบุรุษ อย่างต้น ตะลิงปลิง และต้นทองหลางน้ำ เป็นพืชที่เห็นอยู่คู่สวนมาตั้งแต่เด็ก ปัจจุบันลูกหลานชาวสวนย่านบางขุนเทียนหลายรายตัดต้นไม้เหล่านี้ทิ้งเพราะมองไม่เห็นประโยชน์และคิดว่าผลผลิตจากต้นเหล่านี้ขายไม่ได้ราคาคุณเอ๋จึงอยากเชิญชวนให้ชาวสวนช่วยกันอนุรักษ์ต้นไม้เหล่านี้ไว้เพราะสามารถนำมาต่อยอดทำเมนูอร่อยอย่าง เมี่ยงตะลิงปลิง เพื่อเพิ่มมูลค่าได้ ช่วงนี้ผลตะลิงปลิงในสวนหลายๆ ที่กำลังทยอยให้ผลผลิต ใบทองหลางและใบชะพลูในสวนก็งามดี ดอกไม้หลายชนิดในสวนต่างเบ่งบานรับแสงแดด คุณเอ๋จึงชวนเรามาเก็บผลผลิต เพื่อทำเมนู เมี่ยงตะลิงปลิง และน้ำตะลิงปลิงโซดา เมนูเด่นของ Natura Café เพื่อคลายร้อนกัน วิธีทำก็ไม่ยุ่งยากแถมรสชาติดี เพราะความอร่อยนั้นเกิดจากความสดใหม่ของวัตถุดิบที่เก็บจากสวนหลังบ้านนั่นเอง ที่นี่ยังคงรักษาสภาพสวนดั้งเดิมไว้ ซึ่งแต่เดิมชาวสวนนิยมปลูกต้นทองหลางไว้ริมคูน้ำเป็นพืชพี่เลี้ยงก่อนปลูกต้นอื่นๆ สังเกตว่าพืชที่ขึ้นอยู่แถวต้นทองหลางนั้นต้นจะเติบโตดีมากเนื่องจากต้นทองหลางเป็นพืชวงศ์ถั่วในปมรากมีแบคทีเรียที่ตรึงไนโตรเจนจากอากาศจึงช่วยให้ดินบริเวณที่โคนต้นดีงาม คุณเอ๋ –พรทิพย์ เทียนทรัพย์ เจ้าของภูมิใจการ์เดนท์ และ Natura Café ที่ต้องการสืบสานวิถีชาวสวนให้คนรุ่นใหม่ได้เรียนรู้และมาแบ่งปันสูตรอาหารในวันนี้เล่าว่า เดิมที เมี่ยงตะลิงปลิง มักกินคู่กับใบทองหลาง แต่ปัจจุบันคนรุ่นใหม่มักไม่ค่อยรู้จักใบทองหลางเนื่องจากเป็นพืชที่หายากจึงมักคุ้นเคยกับการกินเมี่ยงกับใบชะพลูที่หาได้ง่ายมากกว่าเมนูของที่นี่จึงนำมาให้ลองกินคู่กัน เดิมทีชาวสวนมักปลูกต้นทองหลางน้ำเพื่อช่วยฟื้นฟูดินในสวน เมื่อใบทองหลางร่วงลงท้องร่องเดิมทีชาวสวนมักลอกโคลนบริเวณนั้นมาทำปุ๋ยเป็นภูมิปัญญาชาวบ้าน เพราะใบมีธาตุไนโตรเจนสูง ต้นทองหลางยังใช้ทำประโยชน์อื่นๆในสวน สมัยก่อนไม่มีค้างปูนชาวสวนมักใช้ต้นทองหลางทำเป็นค้างให้พลูและพริกไทยส่วนต้นตัดมาทำสะพานข้ามท้องร่อง ชาวสวนทุเรียน […]
หากถามว่า “ใครเคยรับประทานรากถั่วพูต้มให้ยกมือขึ้น” คงจะมีคนยกมือไม่มากนัก เพราะ “ถั่วพู” ที่หลายคนรู้จัก คือ ถั่วฝักสดที่นำมารับประทานคู่กับน้ำพริก หรือนำฝักมาผ่านความร้อน ปรุงเป็นเมนูอาหารรสเลิศ เช่น ยำถั่วพูกุ้งสด ผัดพริกแกงหมูใส่ถั่วพู แต่วันนี้จะพาทุกท่านไปทำความรู้จักกับ ถั่วพูกินราก ที่หลายคนอาจไม่เคยรู้มาก่อนว่า “สามารถนำรากมารับประทานได้ด้วย!!” ถั่วพูกินราก ที่กล่าวถึงนี้ เป็นหนึ่งในพืชท้องถิ่นของชุมชนอำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี มีการปลูกสืบทอดกันมาเป็นเวลากว่า 60 ปีแล้ว ในอดีตคนในชุมชนนิยมกินรากถั่วพูเพราะเชื่อว่าเป็นสมุนไพรที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย บวกกับความเหนียวนุ่มและกลิ่นหอมเฉพาะของรากที่ต้มเสร็จก็ชวนรับประทาน จึงมีการปลูกสืบทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่นจนถึงทุกวันนี้ กระทั่งมีการรวมกลุ่มผู้ปลูกถั่วพูกินรากแปลงใหญ่ ซึ่งอยู่ระหว่างการดำเนินการจัดทำมาตรฐานเกษตรดีที่เหมาะสม (GAP) โดยมีสำนักงานเกษตรอำเภอโพธารามเป็นพี่เลี้ยง คาดว่าจะได้รับการรับรองมาตรฐาน GAP เร็ว ๆ นี้ การปลูก ถั่วพูกินราก ถั่วพูกินราก จัดเป็นถั่วพูพันธุ์หนัก ซึ่งเป็นพันธุ์เฉพาะที่สามารถบริโภครากได้ (ไม่ใช่ถั่วพูที่ปลูกรับประทานฝักทั่วไป) โดยเกษตรกรจะเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ใช้เอง และเตรียมแปลงก่อนปลูกโดยหว่านเมล็ดปอเทืองเพื่อบำรุงดินให้ร่วนซุย ระบายน้ำดี และเป็นการเพิ่มธาตุอาหารในดินในรูปแบบปุ๋ยพืชสด เกษตรกรนิยมหยอดเมล็ดลงแปลงปลูกในช่วงเดือนกรกฎาคม เนื่องจากเป็นช่วงต้นฤดูฝน ทำให้ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายเรื่องการให้น้ำได้พอสมควร แปลงปลูกยกร่องสูง 20 – 30 เซนติเมตร ใช้ระยะปลูก […]