สปริงเกลอร์ ตัวช่วยสำคัญในช่วงฤดูร้อน

การติดตั้งระบบรดน้ำในสวน สปริงเกอร์ ระบบพ่นหมอก เป็นหนึ่งในตัวช่วยสำคัญสำหรับผู้ที่ต้องการทุ่นแรงและประหยัดเวลาในการรดน้ำต้นไม้ ทั้งยังมีความแม่นยำสม่ำเสมอ

แต่ สปริงเกลอร์ [ สปริงเกอร์ ] ในปัจจุบันนี้มีรูปแบบการใช้งานที่หลากหลาย แตกต่างกันออกไปตามรูปแบบการใช้งาน จะเลือกใช้อย่างไรให้เหมาะกับฟาร์มนั้น มีข้อควรรู้เกี่ยวกับสปริงเกลอร์ อุปกรณ์รดน้ำชิ้นสำคัญในสวนให้เหมาะกับการใช้งานในสวน เพื่อเป็นทางเลือกในก่อนเลือกซื้อและติดตั้ง

สปริงเกอร์

สปริงเกลอร์ [ สปริงเกอร์ ] คืออะไร ?

สปริงเกลอร์ (SPRINKLER) คือ ระบบรดน้ำแบบหนึ่งที่มีการบีบอัดฉีดน้ำให้แตกเป็นสาย และหมุนเหวี่ยงไปรอบบริเวณพื้นที่ปลูกน้ำต้นไม้ หรือช่วยฉีดน้ำเพื่อลดอุณหภูมิของพื้นที่ให้เย็นลงให้นั่นเอง

วางสปริงเกลอร์อย่างไรดี ? 

ขั้นตอนง่ายๆ ในการวางตำแหน่งสปริงเกอร์ มีดังนี้

  1. แบ่งพื้นที่ในสวนออกเป็นส่วนๆ เพื่อเลือกหัวสปริงเกอร์ โดยแบ่งพื้นที่ง่ายๆตามประเภทของต้นไม้ที่ปลูก เช่น พื้นที่สนามหญ้า พื้นที่ปลูกไม้พุ่ม พื้นที่ปลูกต้นไม้ใหญ่ พื้นที่แปลงปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
  2. เลือกหัวสปริงเกอร์ที่เหมาะสมกับพื้นที่ปลูก โดยเลือกจากระยะฉีดน้ำ รัศมีการให้น้ำของหัวสปริงเกอร์ ตามหัวข้อในลำดับถัดไป

สปริงเกลอร์มีกี่ประเภท และเหมาะกับสวนแบบไหน?

สามารถแบ่งชนิดของ สปริงเกลอร์ ได้หลายประเภทตามการใช้งาน ถ้าหากแบ่งตามลักษณะของการจ่ายน้ำจะแบ่งได้ดังนี้

อ

หัวสปริงเกลอร์แบบต่างๆ

สปริงเกอร์
หัวแบบมินิสปริงเกอร์ (Mini Sprinkler)

หัวแบบมินิสปริงเกลอร์ (Mini Sprinkler) หัวมินิสปริงเกอร์ชนิดนี้จะจ่ายน้ำในอัตราที่ไม่สูงมากนัก จะมีทั้งแบบน้ำหยด และแบบหัวเหวี่ยงขนาดเล็ก รัศมีการจ่ายน้ำจะไม่มาก ไม่เกิน 2-3 เมตร หัวจ่ายน้ำแบบนี้เหมาะกับพื้นที่ขนาดเล็กๆ แปลงผัก หรือแปลงไม้พุ่ม

หัวแบบสเปรย์ (Spray Sprinkler)

หัวแบบสเปรย์ (Spray Sprinkler) หัวสเปรย์นี้ มีลักษณะการจ่ายน้ำซึ่งเป็นแบบรูปพัด รัศมีการจ่ายน้ำไม่เกิน 5-6 เมตร เหมาะกับสวนที่มีขนาดพื้นที่รดน้ำขนาดกลาง

หัวแบบโรเตเตอร์ (Rotor Sprinkler)

หัวแบบโรเตเตอร์ (Rotor Sprinkler) หัวโรเตเตอร์นี้ มีลักษณะการจ่ายน้ำฉีดออกจากหัวจ่ายและหมุนรอบตัวหรือองศาที่กำหนดไว้ รัศมีการฉีดน้ำตั้งแต่ 6 เมตรขึ้นไปถึง 15-20 เมตร เหมาะกับพื้นที่ขนาดใหญ่เช่น แปลงเกษตรพื้นที่กว้าง สนามหญ้า สวนสาธารณะ

หรือหากแบ่งตามลักษณะการติดตั้ง สามารถแบ่งได้ดังนี้

  1. หัวแบบฝังอยู่ใต้ดิน (Under Ground) ได้แก่แบบ pop-up หัวจ่ายน้ำแบบนี้จะถูกฝังอยู่ใต้ดินจะโผล่ขึ้นมาเฉพาะเวลาที่ทำงานเท่านั้น โดยปกติจะติดตั้งบริเวณสนามหญ้า และเป็นพื้นที่โล่ง เพื่อความสวยงาม
  1. หัวแบบติดตั้งอยู่เหนือดิน (Above Ground) ได้แก่แบบที่ติดตั้งอยู่เหนือดิน เช่น มินิสเปรย์ หัวพ่นหมอก pop-up แบบที่ติดตั้งอยู่บน riser แบบนี้จะติดตั้งบริเวณไม้พุ่มและต้องอยู่ในจุดที่หลบสายตาผู้พบเห็น

ข้อดีข้อด้อยของสปริงเกลอร์ [ สปริงเกอร์ ]

ข้อดี

  • ระบบรดน้ำสปริงเกลอร์ตั้งเวลารดน้ำได้ สะดวกสบายสำหรับผู้ที่ไม่มีเวลาดูแลสวนเอง
  • รดน้ำได้เป็นวงกว้าง ประหยัดแรงและเวลา
  • มีหลากหลายรูปแบบ เลือกได้ตามความเหมาะสมกับรูปแบบและประเภทของการใช้งาน
  • ประหยัดน้ำเนื่องจากสามารถคุมและกำหนดเวลา ปริมาณในการรดน้ำต้นไม้ได้
  • ช่วยทำให้พื้นที่บริเวณสวนของคุณมีอุณหภูมิเย็นขึ้น เพิ่มความชื้นในอากาศได้ดี

ข้อด้อย

  • งบประมาณในการติดตั้งสูงกว่าระบบรดน้ำด้วยสายยางแบบปกติ
  • ต้องมีแรงดันน้ำที่เพียงพอ เพื่อประสิทธิภาพที่สมบูรณ์ในการทำงานของระบบสปริงเกลอร์
  • ต้องจัดการแบ่งพื้นที่และวางตำแหน่งสปริงเกลอร์ในการรดน้ำตั้งแต่ขั้นตอนในการออกแบบสวน จะทำให้ระบบทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

สปริงเกอร์

ระบบสปริงเกลอร์ประกอบด้วยอะไรบ้าง?

ระบบสปริงเกลอร์รดน้ำต้นไม้อัตโนมัติ มีองค์ประกอบของอุปกรณ์หลักๆ ดังนี้

  1. หัวจ่ายน้ำ (Sprinkler Head) มีหลายชนิด ถ้าแบ่งตามลักษณะการฉีดน้ำ จะมีแบบ spray head,rotor หรือแบบน้ำหยดทั้งนี้การเลือกใช้งานจะต้องเลือกให้เหมาะสมกับลักษณะของพื้นที่ ชนิดของดินและพืช
  2. วาล์วไฟฟ้า (Solenoid Valve) ใช้ไฟฟ้าความต่างศักย์ต่ำ (24 โวลท์) จากคอนโทรลเลอร์ในการสั่งการให้วาล์วเปิดปิด
  3. คอนโทรลเลอร์ (Controller) เป็นอุปกรณ์ที่สั่งให้วาล์วไฟฟ้าเปิดปิดตามเวลาและระยะเวลาที่กำหนดไว้
  4. เครื่องสูบน้ำ (Pump) ระบบสปริงเกอร์ใช้แรงดันน้ำค่อนข้างสูงจึงจำเป็นจะต้องมี เครื่องสูบน้ำที่เหมาะสมกับระบบโดยเฉพาะ

เรื่อง : Bundaree D.

ภาพ คลังภาพบ้านและสวน Garden&Farm

วิธีรดน้ำต้นไม้แบบประหยัดน้ำด้วย ระบบน้ำหยด

ปลูกผักในช่วงฤดูร้อน ให้รอดด้วย 10 เคล็บลับเหล่านี้

วิธีติดตั้ง เครื่องสูบน้ำโซลาร์เซลล์ สำหรับพื้นที่ที่ไฟฟ้าเข้าไม่ถึง

ติดตามบ้านและสวน Garden&Farm