© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.
หลายคนเข้าใจว่าปลูกเลม่อน เป็นเรื่องยาก เมืองไทยเป็นเมืองร้อนปลูกไม่ได้ ปลูกแล้วไม่ออกผลบ้างล่ะ แต่เมื่อได้มาเยือนที่แห่งนี้ ไร่พสุธารา : Pasutara
ในหนังสือ Everyday with plant ทุกวันมีต้นไม้ ที่วิทย์กับแป๊ะเขียนนอกจากจะมีเทคนิคในการปลูกต้นไม้ในบ้านแล้วเรายังมี เทคนิคการเลือกซื้อต้นไม้ ด้วย
เรามีไอเดียทำกระบะไม้สไตล์คันทรี่จากเศษไม้เก่าและกิ่งไม้เหลือใช้ จะวางบนโต๊ะหรือนำมาปลูกต้นไม้เป็น กล่องปลูกต้นไม้ หิ้วได้
อากาศร้อนๆ อย่างนี้ ราคา ตำลึง ในท้องตลาดก็แพงเหลือเกิน ก็เพราะเป็นช่วงที่ตำลึงไม่ค่อยแตกยอดเหมือนช่วงฤดูฝน แถมยังมีหนอนกัดกินใบอยู่ตลอดเวลา
กระถางคือส่วนสำคัญสำหรับการปลูกต้นไม้ในบ้านไม่แพ้การเลือกชนิดต้นไม้เลยทีเดียว ลองมารู้จักวิธีการ เลือกกระถาง เบื้องต้นง่าย ๆ
หากมีพื้นที่จำกัดไม่สามารถทำโรงเรือนหลังใหญ่ได้ ลองเปลี่ยนมาทำโรงเรือนย่อส่วนขนาดกะทัดรัด
บ้านเรายังมีไม้ประดับที่มีชื่อว่า “ ดอกตรุษจีน ” ด้วย หลายคนคงสงสัยว่าคือดอกไม้ชนิดไหน คำตอบคือ ดอกตรุษจีน คือดอกเฟื่องฟ้า หรือมีอีกชื่อว่าดอกกระดาษนั่นเอง
ลักษณะเด่นของพรรณไม้ที่เรียกว่า “ ไม้เลื้อย ” คือ เมื่อเติบโตขึ้นจะเลื้อยพันหรือพาดกับวัตถุหรือสิ่งพยุงใกล้เคียง บางชนิดให้เถาเลื้อยพร้อมดอกสวยงาม
ต้นไม้จิ๋ว คือต้นไม้ที่มีการปลูกเลี้ยงในพื้นที่จำกัดให้มีขนาดย่อส่วนลงมา ในญี่ปุ่นนิยมเรียกไม้กระถางที่ปลูกแบบจำกัดขนาดทั้งหมดว่าบอนไซ ขณะที่บอนไซ...
หนึ่งในบรรดาดอกไม้ฤดูร้อนก็คือ “เครือเทพรัตน์” จากข้อมูลหนังสือ ไม้เลื้อยประดับ : Climber บันทึกไว้ว่า เป็นพืชชนิดใหม่ที่ค้นพบขึ้นราวปี พ.ศ. 2548
คุณตั้ม - กัมปนาท เนตรภักดี หรือที่รู้จักกันในนาม พ่อมดชาวนา ผู้ที่เคยประสบปัญหาในการปลูกผักสลัด เช่นกัน แต่เขาไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคที่เกิดขึ้น และนำความรู้ที่ได้จากผู้เชี่ยวชาญด้าน การเกษตรมาปรับใช้จนประสบความสำเร็จ
คุณอรรถพล ไชยจักร แห่งไร่หลังฉาง (Farm Behind the Barn) จังหวัดบุรีรัมย์ ตอบทุกคำถาม เผยทุกเคล็ดลับ ปลูกเมลอนอย่างไรให้รอด ดูแลอย่างไรให้งาม จากประสบการณ์ตรงอย่างละเอียด
อยากชวนคุณผู้อ่านที่สนใจจัด สวนกินได้ ในบ้าน มาลองออกแบบพื้นที่ โดยศึกษาจากแปลนสวนตัวอย่างของคุณโป้ง-นลพจน์ พุ่มหิรัญ
มาเตรียม ปลูกบัว รับฤดูร้อนกัน ช่วงใกล้ฤดูร้อนอย่างนี้ ไม้ดอกหลายชนิดเริ่มกลับมามีสีสันกันอีกครั้ง โดยเฉพาะบัวที่มักจะทรุดโทรมในช่วงหน้าแล้ง
เป็นอีกหนึ่งปัญหาของคนรักสวนอยู่ไม่น้อย กับการแยกแยะผักชี 2 ชนิดที่มีใบคล้ายกัน แต่ประโยชน์และสรรพคุณแตกต่างกัน นั่นก็คือผักชีลาว กับ ผักชีช้าง นั่นเอง ผักชีลาว เป็นผักพื้นบ้านที่นิยมปลูกรับประทานในแถบภาคเหนือ ภาคอีสานของไทย ลักษณ์เด่นคือมีกลิ่นหอมฉุนใช้เป็นเครื่องเทศดับคาว ส่วน ผักชีช้าง เริ่มเป็นที่รู้จักกันมากขึ้นเพราะนิยมใช้จัดสวน ด้วยรูปใบที่เล็กละเอียด ให้บรรยากาศเหมือนอยู่ในสวนยุโรป ซึ่งการพบเจอโดยทั่วไปจึงเป็นปัญหาอยู่ไม่น้อยในการแยกแยะต้นไม้ทั้ง 2 สายพันธุ์ ว่าแล้วก็ไปดูกันให้ชัดๆ เลยดีกว่าว่า ผักชีลาวและผักชีช้าง แตกต่างกันอย่างไร ผักชีลาว ผักชีลาวหาซื้อได้ง่ายตามท้องตลาด ใบเป็นเส้นเรียวสีเขียวสด ก้านและต้นกลวง นำไปปรุงอาหารได้มากมาย ดับกลิ่นคาวปลาได้ดี เช่น ทำแกงอ่อม แกงหน่อไม้ ห่อหมก ผัดไข่ แกล้มน้ำพริกปลาร้า ลาบ ก้อย มีสรรพคุณทางยาช่วยย่อย แก้ท้องอืด ลดความดันโลหิต อยู่ในวงศ์ Apiaceae มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Anethum graveolens ที่อินเดียนิยมปลูกเพื่อเก็บเมล็ด ไปสกัดน้ำมันหอม แต่ที่ไทยปลูกเพื่อใช้แค่ต้นและใบ ดอกผักชีลาวสีเหลืองจิ๋ว ออกเป็นช่อแบบซี่ร่ม ที่ปราณบุรีมีเชฟชาวอังกฤษชื่อ James Douglas […]
เคยสงสัยกันบ้างไหมว่า พืชผักและไม้ประดับในสวนน้อยๆ ของเรา ยอดมักกุด ใบก็หายไป เหลือแต่กิ่งก้านกับลำต้นโด่เด่ พอมองหาตัวการก็มักพบทากและหอยทากคลานวนเวียนใกล้ๆ ทั้งตัวเล็กตัวใหญ่ บางครั้งมาเป็นขบวนแบบไม่เกรงใจใคร หากไม่อยากให้ต้นไม้ในสวน โดยเฉพาะผักกินใบที่เราปลูกไว้เสียหาย จึงควรป้องกันกำจัดก่อนจะสายเกินไป วิธีกำจัดหอยทาก วิธีป้องกันกำจัดทากและหอยทากตัวร้ายที่ง่ายที่สุดคือ อย่าปล่อยให้บ้านหรือสวนของเราอับชื้น รก สกปรก ควรหมั่นเก็บเศษใบไม้ใบหญ้า ผลไม้เน่าเสีย เศษอาหารออกไปทิ้ง เพื่อตัดแหล่งอาหารของหอยทาก และหมั่นดูแลตัดแต่งกิ่งต้นไม้ อย่าให้ร่มครึ้มจนแสงแดดส่องไม่ถึงพื้นดิน เพราะทากและหอยทากชอบอยู่ในที่อับชื้น ทั้งยังขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว วิธีกำจัดหอยทาก อีกวิธีที่ช่วยกำจัดทากและหอยทากได้ดี ก็คือ เก็บหอยทากเหล่านั้นออกไปทิ้ง แต่ต้องนำไปทิ้งให้ไกลจากสวนหรือตัวบ้านหน่อยนะคะ ไม่งั้นพวกมันจะกลับมารวมตัวกันอีกครั้ง และอาจมีจำนวนมากกว่าที่เก็บทิ้งเสียอีก แต่หากจัดการด้วยวิธีดังกล่าวแล้วยังคงมีทากและหอยทากกวนใจ โดยเฉพาะในช่วงหน้าฝนที่จะพบมากเป็นพิเศษ เรามีวิธีป้องกันกำจัดที่ได้ผลมาฝาก เพียงแค่ใช้ของที่มีอยู่ในครัวให้เป็นประโยชน์ ดังนี้ ปัญหาทากและหอยทากรบกวนช่วงหน้าฝนจะหมดไปหากลองนำวิธีเหล่านี้ไปใช้ แต่อย่าลืมว่าสัตว์เหล่านี้ขยายพันธุ์ได้ง่ายและมีจำนวนมากเมื่อมีสภาพแวดล้อมเหมาะสม ทางที่ดีควรหมั่นดูแล สังเกตแปลงต้นไม้ภายในบ้านอย่างสม่ำเสมอ แล้วหาวิธีป้องกันกำจัดที่เหมาะสมต่อไป ป.ล. ทากที่กินพืชเป็นอาหารเป็นคนละชนิดกับที่อยู่ในป่า เขียนโดย วิรัชญา จารุจารีต สั่งซื้อออนไลน์ได้ที่ https://www.facebook.com/Baanlaesuanbooks/ ประโยชน์จากเปลือกไข่ ทำได้สารพัดอย่าง 3 น้ำหมักทำเอง ตัวช่วยบำรุงผัก ใบ-ดอก-ผล […]
ในยุคที่สภาวการณ์ต่างๆ บนโลกพลิกผันไปอย่างคาดเดาไม่ได้หลายคนคงตกอยู่ในความวิตกกังวลว่า โรคร้ายจะระบาดถึงนานแค่ไหน เราจะตกงานไหม แล้วจะหาเงินสร้างรายได้ให้ครอบครัวอย่างไร และอีกหลายคำถาม แต่สิ่งหนึ่งที่สวนกระแสสภาพเศรษฐกิจก็คือ ธุรกิจไม้ประดับที่มีแต่พุ่งขึ้นอย่างไม่น่าเชื่อ โดยเฉพาะ “วงการไม้ใบ” มาฟังคุณอุดม ฐิตวัฒนะสกุล เจ้าของสวน “สวนอุดมการ์เด้น” แหล่งผลิตไม้ใบรายใหญ่ของเมืองไทย และอดีตนายกสมาคมไม้ประดับแห่งประเทศไทย บอกเล่าประสบการณ์การฝ่าฟันอุปสรรคต่างๆ จนมาถึงจุดนี้กันค่ะ คุณอุดมจบศึกษาศาสตร์ ได้ทำงานที่บริษัทเคมีการเกษตรอยู่หลายปี มีโอกาสไปดูงานต่างประเทศบ่อยๆ จึงได้เห็นได้เรียนรู้และเก็บเกี่ยวประสบการณ์มากขึ้น และตัดสินใจลาออกไปทำงานกับบริษัทจัดสวนทำให้ได้เรียนรู้เรื่องราวของไม้ประดับในการจัดสวนมากขึ้น และยังได้นำความรู้ที่เราสะสมไว้มาปรับใช้กับงานนี้ได้ “จนในปี พ.ศ.2540 เป็นช่วงที่วิกฤติเศรษฐกิจฟองสบู่ เราเริ่มหาลู่ทางใหม่ๆ ตอนนั้นไปเจอฟิโลซานาดูที่เพิ่งเริ่มมีการปลูกเลี้ยงกัน ก็ลองปลูกเป็นไม้กระถางและตัดใบขาย ในพื้นที่เล็กๆ แค่ 20-30 ตารางเมตร ก็ไปเปิดท้ายขายต้นไม้ตามตลาด ปรากฏว่าขายได้ดีมากและมีรายได้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ช่วงนั้นเราคอยสำรวจตลาดบ่อยๆ ก็ไปเจอไม้อื่นที่ตลาดกำลังต้องการ โดยเฉพาะมอนสเตอร่า ที่ใช้กันมาก ทั้งงานมงคลและอวมงคล เราจึงวางแผนที่จะขยายพื้นที่เพื่อผลิตไม้ตัดใบและไม้ใบกระถางให้มีคุณภาพตรงกับที่ตลาดต้องการ” “ผมมีพื้นฐานด้านการเกษตรอยู่แล้ว ด้วยคุณพ่อทำสวนกล้วยไม้ มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2500 ซึ่งทำให้เราคลุกคลี และเรียนรู้การจัดการต่างๆ ทั้งการบริหารจัดการพื้นที่การเกษตร การจัดการน้ำ การป้องกันลม และการแก้ปัญหาต่างๆ หลังจากที่กิจการของเราเริ่มดีขึ้น ก็มองเห็นลู่ทาง […]
เปิดวาร์ปไปสัมผัสฟาร์มสไตล์ญี่ปุ่น ด้วยระยะทางจากกรุงเทพฯเพียงร้อยกว่าโล ในอำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี บนพื้นที่กว่า 104 ไร่ ถูกเปลี่ยนให้เป็นฟาร์มออร์แกนิกที่หวังปลุกแรงบันดาลใจให้คนรุ่นใหม่เห็นว่า การเป็นชาวสวนก็เป็นเรื่องสนุกไม่แพ้กัน CORO Field ไลฟ์สไตล์ฟาร์มมิ่งที่อยากให้คุณมาใช้ช่วงเวลาพักผ่อนสบาย ๆ ไปพร้อมกับพืช ผัก ผลไม้ และวิถีฟาร์มออร์แกนิกที่ทันสมัย กดปุ่มรีเฟรชตัวเองแบบเต็มสูบ ด้วยแรงบันดาลใจดี ๆ จากแปลงผักออร์แกนิกและผลผลิตที่คุณภาพดีปลอดภัยไร้สารพิษ พื้นที่ของฟาร์มแบ่งเป็นโซนด้วยกิจกรรมที่สอดคล้องและครอบคลุม ตั้งแต่ขั้นตอนของการเพาะปลูก เก็บเกี่ยว จนถึงการนำวัตถุดิบไปปรุงอาหาร จากผลผลิตภายในฟาร์ม ที่ได้รับการดูแลใส่ใจเป็นพิเศษ ด้วยเทคโนโลยีทางการเกษตรที่ทันสมัย เพื่อให้ได้มาซึ่งผลผลิตที่มีคุณภาพ รสอร่อย ไม่ว่าจะเป็นเมล่อน , มะเขือเทศ , มันม่วง และผักสลัดหลากหลายพันธุ์ ลิ้มรสความอร่อยด้วยรสของธรรมชาติที่ส่งต่อจากฟาร์มถึงจานคุณในไม่กี่นาที เพราะชีวิตที่ดี เริ่มต้นจากการกินที่ดี CORO HOUSE กรีนเฮ้าส์ขนาดใหญ่ ควบคุมดูแลพืชผักด้านในโรงเรือนด้วยเทคโนโลยีจากประเทศอิสราเอล ด้วยระบบน้ำหยด ดึงน้ำแร่ใต้ฟาร์มมาใช้รดน้ำ รวมถึงการให้ปุ๋ยและสารอาหาร ป้องกันแมลงด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ด้านในปลูกพืชที่ต้องการการดูแลเป็นพิเศษอย่างโทมิเมล่อน เมลอนสีเหลืองทอง ลายตาข่าย และมะเขือเทศเชอร์รี่สายพันธุ์จากประเทศฮอลแลนด์ โทมิเมล่อน ถือว่าเมลอนแห่งความมั่งคั่ง มักถูกมอบให้เป็นของขวัญ ผิวด้านนอกของเมล่อนพันธุ์มีสีเหลืองทอง […]