สมุนไพรอินทรีย์ ปลูก-เก็บ-กินถูกวิธี ดีต่อสุขภาพ

ใคร ๆ ก็อยากมีสุขภาพแข็งแรง ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ หลายคนจึงเลือก ปลูกสมุนไพร ประจำบ้านและพืชเครื่องเทศสำหรับรับประทานเพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันและรักษาอาการเจ็บป่วยให้แก่ร่างกาย เพื่อบรรเทาอาการเบื้องต้น การ ปลูกสมุนไพร และใช้สมุนไพรเพื่อดูแลสุขภาพอยู่ในวิถีชีวิตของคนไทยมีมาตั้งแต่อดีตแล้ว ส่วนใหญ่นำมาบริโภคเป็นผัก ใช้เป็นวัตถุดิบในการปรุงอาหารหรือทำเครื่องแกงต่าง ๆ หากปลูกติดบ้านไว้ก็สามารถใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย โดยหลายชนิดถูกบรรจุเป็นสมุนไพรในงานสาธารณสุขมูลฐาน ใช้เพื่อรักษาโรคหรืออาการเบื้องต้นที่พบบ่อย ๆ ตัวอย่างเช่น ขิง ช่วยบรรเทาอาการท้องอืดจุกเสียด ขับลม แก้ไอและระคายคอจากเสมหะ ขมิ้นชัน ช่วยบรรเทาอาการปวดท้องเนื่องจากแผลในกระเพาะอาหาร ท้องอืด จุกเสียด อาหารไม่ย่อย หรือใช้ทาแก้อาการแพ้ คัน อักเสบจากแมลงสัตว์กัดต่อย ฟ้าทะลายโจร ใช้แก้ท้องเสีย แก้ไข้ บรรเทาอาการเจ็บคอและอาการของโรคหวัด กระเทียม ช่วยย่อยอาหาร แก้ไอ ขับเสมหะ ใช้แก้กลากเกลื้อน ว่านหางจระเข้ ใช้รักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก เป็นต้น “อย่างไรก็ตาม การผลิตสมุนไพรอินทรีย์ นอกจากคำนึงถึงปริมาณผลผลิตและปริมาณสารสำคัญในพืชสมุนไพรแล้ว จำเป็นต้องศึกษาเกี่ยวกับสรรพคุณ วิธีใช้ และข้อควรระวังต่าง ๆ อีกทั้งอายุและช่วงเวลาเก็บเกี่ยวสมุนไพร ซึ่งมีผลโดยตรงและเป็นปัจจัยกำหนดปริมาณสารสำคัญที่เหมาะสม ซึ่งแตกต่างกันไปตามชนิดและสายพันธุ์ของพืชสมุนไพร” ข้อคิดเกี่ยวกับการผลิตและใช้ประโยชน์สมุนไพรโดย […]

Read More

วิธีแยกหน่อกล้วยด่าง ปลูกขายได้ราคาดี

คนไทยรู้จักใช้ประโยชน์จากกล้วยมาแต่โบราณ ทั้งใบตอง หยวกกล้วย ปลีกล้วย เครือกล้วย หรือแม้แต่เหง้ากล้วย ก็หมักทำน้ำปุ๋ยหมักเหง้ากล้วยไว้บำรุงต้นไม้ได้อีก แต่สำหรับเทรนด์ไม้ประดับช่วงนี้ ขอยกให้ “กล้วยด่าง” แม้บางชนิดผลกินไม่ได้ แต่ก็สวยงาม แถมยังขายได้ราคาสูงลิบลิ่ว แยกหน่อกล้วยด่าง วันนี้พามาชมกล้วยด่างที่คุณโอ๊ต-อัศว​เดช​ ตั้ง​โยธา​พิพัฒน์​กุล ปลูกไว้ที่บ้าน “ผมสะสมกล้วยด่างมาสี่ปีแล้วครับ ต้นแรกคือกล้วยตานีด่างครับ” คุณโอ๊ตชี้ไปที่ต้นกล้วยตานีที่ปลูกไว้ข้างบ้าน ต้นสูงใหญ่กว่า 5 เมตร ลำต้นเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 30 เซนติเมตร ไม่น่าเชื่อว่าพื้นที่บ้านเดี่ยวในหมู่บ้านใหญ่จะมีกล้วยด่าง เป็นป่ากล้วยขนาดนี้ แยกหน่อกล้วยด่าง “ครั้งแรกที่เลี้ยงก็เพราะชอบลายด่าง ปลูกง่ายไม่ยากเลยครับ แล้วก็สะสมเพิ่มมาเรื่อยๆ จนมาช่วงปีนี้ ราคาจะสูงขึ้นมาก ผมเลยเริ่มปลูกและผลิตต้นอย่างจริงจัง” นอกจากกล้วยตานีด่างแล้ว คุณโอ๊ตปลูกกล้วยด่างไว้รอบบ้านอีกหลายชนิดทั้งกล้วยน้ำว้าค่อมด่าง กล้วยน้ำว้าไอศกรีมอเมริกา กล้วยเทพพนม กล้วยป่าหินอ่อน “ผมใช้กาบมะพร้าวสับปูตามพื้นดินเลย เพื่อรักษาความชื้นในดินให้สม่ำเสมอ กล้วยจะเติบโตและให้หน่อที่แข็งแรง “ผมให้ปุ๋ยละลายช้าสูตรเสมอ  มูลไก่​ ​และมูลไส้เดือน ทุก 2 สัปดาห์ เสริม เพื่อให้หน่อสมบูรณ์แข็งแรงขึ้น และฉีดพ่นสารป้องกันกำจัดเชื้อราพวกไตรโคเดอร์มา รดตามพื้นและฉีดพ่นตามใบด้วย ก็เติบโตงามอย่างที่เห็น ถ้าดูแลต้นแม่ให้แข็งแรง […]

Read More

เทคนิคปรุงดินให้อร่อย ธาตุอาหารครบ ถูกใจพืชผักในสวน

ดินปลูกผักเป็นปัจจัยสำคัญ ดินปลูกที่ดีควรมีความโปร่ง ร่วนซุย ระบายน้ำดี มีธาตุอาหารเพียงพอ มีอินทรียวัตถุ ไม่มีเชื้อโรค แมลงที่เป็นอันตราย

Read More

สร้างฟาร์มเล็ก ๆ ในบ้านให้น่ารักราวกับอยู่ในโลกนิทาน

กระท่อมหลังเล็กบ้านของสัตว์เหล่านี้ใน Soontaree Life & Farm บรรยากาศฟาร์มเลี้ยงไก่ในชนบทดังในนิทานของเบียทริกซ์ พอตเตอร์ (Beatrix Potter)

Read More

วิธีขยายพันธุ์มะนาว ทำขายสร้างรายได้ ง่ายนิดเดียว

ลองชวนมารู้จักวิธีขยายพันธุ์มะนาว ส้มจิ๊ด เลม่อน ด้วยการชำและตอน ซึ่งเป็นวิธีการขยายพันธุ์แบบอาศัยเพศที่ง่ายและสะดวก

Read More

เตรียมวัสดุเพาะกล้าใช้เองแบบง่าย ๆ ราคาประหยัด

เมล็ดผักจะงอกและต้นกล้าจะเจริญเติบโตได้ดีเพียงใด นอกจากการใช้เมล็ดพันธุ์ที่ดีมีคุณภาพแล้ว ยังขึ้นอยู่กับวัสดุเพาะกล้าด้วย

Read More

โรคและแมลงศัตรู ของแคคตัสและไม้อวบน้ำ ปัญหาที่ต้องแก้ก่อนสาย

เพลี้ยแคคตัส หนึ่งในปัญหาที่พบบ่อยในแคคตัส ซึ่งปัญหาส่วนใหญ่เกิดจากแมลงศัตรูและเชื้อราที่ก่อให้เกิดโรค มีวิธีแก้ไขที่ควรป้องกันก่อนสาย

Read More

เลี้ยงไก่งวง สัตว์เลี้ยงทางเลือก ขายได้ราคาดี แถมช่วยกำจัดหญ้าในสวน

“ไก่งวง” อาจจะเป็นสัตว์ที่ไม่คุ้นเคยนัก ทั้งรูปร่างหน้าตาที่แปลก ขนาดตัวใหญ่กว่าไก่ปกติทั่วไป แต่ปัจจุบันไก่งวงเริ่มมีการเลี้ยงแพร่หลาย

Read More

ทำปุ๋ยมูลไส้เดือนจากเศษอาหาร สูตรจากฟาร์มลุงรีย์

ปุ๋ยมูลไส้เดือน นอกจากจะเป็นที่ยอมรับและนิยมใช้ในการปลูกผักเพราะอุดมไปด้วยสารอาหารที่พืชต้องการแล้ว การเลี้ยงไส้เดือนเพื่อทำปุ๋ยยังเป็นอีกหนึ่งวิธีรักษ์โลก ลดขยะจากเศษอาหารได้ด้วย ใช้เวลาเพียงแค่ 30 วันก็ได้ปุ๋ยดีมีคุณภาพใช้เองภายในครัวเรือน ธาตุอาหารใน ปุ๋ยมูลไส้เดือน ประกอบด้วย ไนโตรเจน 0.995% ฟอสฟอรัส 0.669% โพเทสเซียม 1.487% เหมาะสำหรับบำรุงต้น ราก ใช้ในช่วงที่พืชกำลังเติบโต ใช้เป็นส่วนผสมของวัสดุปลูกและวัสดุเพาะกล้าพืชได้ ช่วยให้ดินมีโครงสร้างดีขึ้น ระบายน้ำและอากาศได้ดี และเก็บความชื้นได้มากขึ้น ช่วยให้ระบบรากพืชกระจายตัวในดินได้ดีขึ้น การทำปุ๋ยมูลไส้เดือนประกอบด้วย 2 ส่วนหลักคืออาหารของไส้เดือนและบ้านไส้เดือน ซึ่งทั้งสองอย่างใช้ต้นทุนเพียงน้อยนิด โดยมีขั้นตอนการทำดังนี้ อาหารของไส้เดือน เศษผัก เศษอาหาร แหล่งอาหารชั้นดีและใช้ต้นทุนน้อย ซึ่งผักที่นำมาใช้นั้นต้องดูก่อนว่าใช้ได้หรือไม่ได้อย่างไรบ้าง โดยส่วนใหญ่จะเน้นเศษผักที่มีเส้นใย ย่อยง่าย เช่น ผักกาดขาว คะน้า กวางตุ้ง ผักกาดหอมหลีกเลี่ยงผักบางชนิด เช่น ตะไคร้ เพราะมีเส้นใยหนา เมื่อนำมาใช้ไส้เดือนจะย่อยสลายได้ยาก เพราะไส้เดือนไม่มีฟันเคี้ยว แต่อาศัยวิธีการดูดแทน ใช้เวลาในการย่อยเศษซากเหล่านี้ประมาณหนึ่งเดือน ส่วนกากที่ย่อยไม่หมดนำไปใช้คลุมดินตามโคนต้นไม้ได้ เป็นทั้งปุ๋ยและช่วยรักษาความชื้นให้หน้าดินอีกต่างหาก ผลไม้ที่ไม่ควรนำมาใช้เป็นอาหารไส้เดือน คือ มะนาว สับปะรด พริก […]

Read More

วิธีขยายพันธุ์ไม้ใบ สร้างรายได้เสริมในยุคต้นไม้ราคาแพง  

สำหรับคนที่รักต้นไม้ชอบธรรมชาติ การ ขยายพันธุ์ไม้ใบ ไม้ประดับ ขายก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจ เพราะสามารถใช้พื้นที่รอบบ้านในการเพาะเลี้ยง

Read More

เบลนด์ชาสมุนไพรตามสไตล์ของตัวเองที่ Sawanbondin Farm & Tea House

สวรรค์บนดิน ฟาร์มแอนด์ทีเฮ้าส์ ทีเฮ้าส์และฟาร์มออร์แกนิก ชาสมุนไพร ที่เกิดขึ้นโดยคุณโต - ชูเกียรติ เวสารัชชพงศ์

Read More

รวม 10 ฟาร์มเมอร์รุ่นใหม่ที่น่าติดตาม ทำจริง ขายจริง

รวม 10 ฟาร์มเมอร์รุ่นใหม่ที่น่าติดตาม ทำฟาร์ม ทำเกษตร เป็นอาชีพ จนประสบความสำเร็จ สามารถเลี้ยงชีพได้ ที่น่าติดตาม

Read More

ปลูกกัญชาในโรงเรือนอัจฉริยะแบบ Smart Farming คณะนวัตกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยรังสิต

แนวทางการ ปลูกกัญชา 2564 โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ในโรงเรือนอัจฉริยะ (Smart Greenhouse) ซึ่งปลูกและวิจัยกัญชาทางการแพทย์ในระบบปิด

Read More

การผลิตพืชผักและผลไม้เพื่อส่งออก ตอนที่ 2 : มาตรฐานโรงคัดบรรจุ

สวัสดีครับครั้งที่แล้วเราพูดถึงเรื่อง มาตรฐานสินค้าเกษตร ส่งออก การผลิตพืชผักและผลไม้เพื่อส่งออก กันไปแล้ว ในตอนนี้จะมาเล่าต่อจากตอนที่แล้วในเรื่องมาตรฐานของโรงคัดบรรจุผักผลไม้สดเพื่อการส่งออก สำหรับการส่งออกผักผลไม้ไปต่างประเทศ โดยทั่วไปแล้วมีหลาย ๆ ประเทศที่ต้องทำการคัดบรรจุในโรงคัดที่ต้องผ่านการรับรอง มาตรฐานสินค้าเกษตร ส่งออก ก่อนจึงจะส่งออกได้ และผักผลไม้ที่นำมาคัดบรรจุก็ต้องมาจากแหล่งที่ได้รับการรับรองมาตรฐานตามที่กล่าวไปในตอนก่อนหน้านี้ด้วยเช่นกัน มาตรฐานสำคัญ ๆ ของโรงคัดบรรจุมีอะไรบ้าง ในตอนนี้จะมาเล่าให้ฟังครับ •อ่านมาตรฐานการผลิตพืชผักและผลไม้เพื่อส่งออก กลุ่มมาตรฐาน โรงคัดบรรจุ [ มาตรฐานสินค้าเกษตร ส่งออก ] GMP (GOOD MANUFACTURING PRACTICES) CODEX คือหลักเกณฑ์และวิธีการที่ดีในการผลิตอาหาร ของหน่วยงานมาตรฐานอาหารระหว่างประเทศ CODEX เป็นมาตรฐานที่เป็นพื้นฐานของโรงอาหารและโรงงานคัดบรรจุผักผลไม้ โรงคัดบรรจุที่ต้องการได้รับการรับรองมาตรฐานนี้จะต้องมีหลักฐานการนำข้อกำหนดของ GMP ไปใช้ในองค์กร ประกอบด้วย การควบคุมผู้ส่งมอบวัตถุดิบ ทำเลที่ตั้งอาคาร การออกแบบอาคารต้องไม่ปนเปื้อนกระบวนการผลิตได้มาตรฐานทุกขั้นตอนตั้งแต่เริ่มผลิต จัดเก็บ ควบคุมคุณภาพ ขนส่งรวมืทั้งระบบการบันทึกข้อมูล การตรวจสอบและการจัดการเรื่องสุขอนามัย ซึ่งจะทำให้ผลิตผลที่ผ่านมาตรฐานนี้มีความสะอาดปลอดภัยและสอบกลับได้ จนเป็นที่มั่นใจของผู้บริโภค อ่านรายละเอียดข้อกำหนดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.fao.org/fao-who-codexalimentarius/en/ HACCP (HAZARD ANALYSIS AND CRITICAL CONTROL […]

Read More

10 ข้อเตือนใจก่อนไป ทำเกษตร สาเหตุที่ทำเกษตรแล้วไม่ประสบความสำเร็จ

การทำเกษตรอาจจะไม่ใช่เรื่องยาก แต่ก็ไม่ง่าย เราจะมาถอดบทเรียนข้อคิดและปัญหาสำคัญที่ทำให้การทำเกษตรไม่ประสบผลสำเร็จอย่างที่ต้องการ

Read More

ปัญหาของคนพื้นที่จำกัด แม้มีเพียงพื้นปูนก็สามารถปลูกผักให้สวยได้

แม้จะมีพื้นที่เป็นลานปูน ก็ทำแปลงผักบนพื้นคอนกรีต ได้ เพียงเตรียมดินให้ดีตั้งแต่เริ่มต้น และหมั่นเติมสารอาหารให้กับพืชผักที่ปลูกอย่างสม่ำเสมอ

Read More

แก้ดินเค็ม ผืนนาแห้งแล้ง ให้เป็นสวนเกษตรผสมผสาน

การทำเกษตรให้ประสบความสำเร็จ ใคร ๆ จึงต่างปรามาสว่าพื้นที่นาข้าวภาคอีสานนั้นปลูกผลไม้ไม่ได้กิน เนื่องจากต้อง แก้ดินเค็ม และความแห้งแล้ง

Read More

การผลิตพืชผักและผลไม้เพื่อส่งออก ตอนที่ 1 : การขอมาตรฐานสินค้าเกษตร

สำหรับมาตรฐานสินค้าเกษตร มีหลากหลายแบบไม่ว่าจะเป็น GAP, GLOBAL G.A.P, ORGANIC EU, GMP, HACCP จะปลูกพืชขายส่งออกควรได้มาตรฐาน GAP ในเบื้องต้น

Read More